แนะนำ 4 กองทุน ความเสี่ยงต่ำ SSF ที่เน้นมั่นคง

กองทุน ความเสี่ยงต่ำ

กองทุน ความเสี่ยงต่ำ คือ กองทุนที่เหมาะกับผู้ที่เน้นการลงทุนที่ปลอดภัย ไม่มีความผันผวนสูง กำไรก็จะน้อย แต่โตอย่างมั่นคง และคนส่วนใหญ่ก็จะเลือกถือไว้ยาวๆ หลายปี กองทุน วันนี้ที่จะแนะนำจะเป็น กองทุน SSF ที่จะลงทุนใน ตั๋วเงิน หุ้นพันธบัตรรัฐบาล โดยกองทุนนี้ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ไปดู กองทุนความเสี่ยงต่ำ 2567 นี้ได้เลยว่าจะมีอะไรบ้าง

4 กองทุน ความเสี่ยงต่ำ ที่ลดหย่อนภาษีได้ 

สำหรับใครที่ต้องการกองทุน ที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีประจำปีได้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะลงกองทุนไหนดี เพราะ SSF กับ RMF ก็มีกองทุนให้เลือกเยอะเหลือเกิน บทความนี้จึงคัดเอา 4 กองทุน SSF ที่มีความน่าสนพอตัว มาแนะนำซึ่งอยู่ในความเสี่ยง โซนสีเขียวแน่นอน ซึ่งที่คัดมาก็เป็นกองทุนที่ทางโบรกเกอร์กองทุน FINNOMENA แนะนำมา

  • KKP ACT FIXED-SSF กองทุนเปิดเคเคพี แอ็กทิฟ ฟิกซ์ อินคัม ชนิดเพื่อการออม เป็นกองทุนที่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ ให้อัตราตอบแทนเมื่อครบอายุ 2 ปี 23 วัน ที่ 3.42% 
  • KKP MP-SSF กองทุนเปิดเคเคพี มันนี่ โพสิทีฟ ชนิดเพื่อการออม กองทุนอายุสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำมากที่สุดใน 4 กองนี้ โดยอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนอยู่ที่ 16 วัน อัตราผลเมื่อถือครบอายุอยู่เพียง 2.44%
  • KKP PLUS-SSF กองทุนเปิดเคเคพี ตราสารหนี้พลัส ชนิดเพื่อการออม เป็นกองทุนที่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนที่ 4 เดือน 4 วัน และรับผลตอบแทนเมื่อถือครบอายุที่อัตราจ่าย 2.23%
  • KKP S-PLUS-SSF กองทุนเปิดเคเคพี สมาร์ท พลัส ชนิดเพื่อการออม เป็นกองทุนที่คล้ายกับกองทุนก่อนหน้า มีความเสี่ยงในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ให้อัตราตอบแทนเมื่อครบอายุ 9 เดือน 23 วัน ที่ 2.84%

ที่มา : โพยกองทุน SSF สาย Safe เสี่ยงต่ำ เน้นมั่นคง [1]

เทียบ ความน่าสนใจของแต่ละกองทุน ลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง ?

แนะนอนว่า 4 กองทุนนี้ตามชื่อที่ต่างกัน รวมไปถึงบางกองทุนมีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งด้วยความแตกต่างนี้ทำให้เราสามารถสโคปมองแต่สิ่งที่เราสนใจ และศึกษามา ซึ่งแต่ละกองทุนจะลงทุนในสินทรัพย์แบบไหนบ้างไปดูได้เลย

KKP ACT FIXED

กองทุนนี้เลือกในตราสารหนี้ ที่ในและต่างประเทศ สัดส่วนของการลงทุนก็จะเน้นไปที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย 12% กระทรวงการคลัง 5% บริษัทอสังหาฯ ต่างๆ 2-4% รวมไปถึงตราสารรัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยผลตอบแทนกองทุนนี้ก็มีมากที่สุดแล้ว

KKP MP

กองทุนที่มีความเสี่ยต่ำสุดแล้วแต่ทำกำไรได้ดีมากๆ หากเทียบกับ 4 กองทุนนี้ โดยจะเน้นลงทุนกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหลัก ในพวกพันธบัตรธนาคาร ตราสารหนี้ ตั๋วเงินคลัง

KKP PLUS

ลงทุนในตราสารหนี้กับทางภาครัฐ และเอกชนที่ให้ผลตอบแทนดีต่อเนื่อง แถมมีความมั่นคง ซึ่งจะมีทางด้านของพันธบัตรในต่างประเทศด้วยอย่าง พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น 4% และมีลงทุนในด้านบริษัทเอกชนเกี่ยวกับอาหารด้วยประมาณ 1-3%

KKP S-PLUS

ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงภาคเอกชน อย่างตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เงินฝาก รวมไปถึงบริษัทเกี่ยวกับอาหาร และอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ด้วย มีส่วนของหุ้นกู้มากที่สุด รองลงมาก็เป็นพันธบัตรรัฐบาล เงินฝากธนาคาร

นโยบายในกองทุน SSF และผลตอบแทนย้อนหลัง

นอกจากนี้ ความน่าสนใจของกองทุนยังอยู่ที่ผลตอบแทน และนโยบายด้วยว่าจะตอบโจทย์เรามากแค่ไหน อย่างเงินขั้นต่ำที่สามารถซื้อกองทุนได้ หรือจะเป็นนโยบายด้านของค่าธรรมเนียม และผลตอบแทนย้อนหลังที่มี Performance ที่ต่างกันไปตามกองทุน

KKP ACT FIXED

  • เงินขั้นต่ำที่ซื้อกองทุนได้คือ 1000 บาท ลงทุนครั้งต่อไปก็ 1000 บาท
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการตามหนังสือชี้ชวนรวมทั้งหมด 3.4 % ต่อปี จ่ายจริง 0.39 % ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 2.48 % 3 ปี 1.93 % 

KKP MP

  • เงินขั้นต่ำที่ซื้อกองทุนได้คือ 100 บาท ลงทุนครั้งต่อไปก็ 100 บาท
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมตามหนังสือชี้ชวนรวมทั้งหมด 1.53 % จ่ายจริง 0.2 % ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 1.76 % 3 ปี 0.85 % 

KKP PLUS

  • เงินขั้นต่ำที่ซื้อกองทุนได้คือ 1000 บาท ลงทุนครั้งต่อไปก็ 1000 บาท
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการตามหนังสือชี้ชวนรวมทั้งหมดแค่ 0.49 % ต่อปี จ่ายจริง 0.32 % ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 2.13 %

KKP S-PLUS

  • เงินขั้นต่ำที่ซื้อกองทุนได้คือ 1000 บาท ลงทุนครั้งต่อไปก็ 1000 บาท
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการตามหนังสือชี้ชวนรวมทั้งหมด 3.7236 % ต่อปี จ่ายจริง 0% ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 2.26 %

สรุป กองทุน ความเสี่ยงต่ำ จุดพักเงิน และกระจายความเสี่ยง

กองทุน ความเสี่ยงต่ำ

บทความนี้เป็นการแนะนำกองทุนรวมในประเภทของ SSF ที่มีความเสี่ยงต่ำ ไปถึง ต่ำปานกลาง ซึ่งเป็นการแนะนำที่อ้างอิงมาจากทางโบรกเกอร์ที่ปรึกษาทางการเงินอย่าง Finnomena ซึ่งก็แนะนำทั้งรายละเอียดกองทุน รวมไปถึงนโยบาย และผลประกอบการต่างๆ ของแต่ละกองทุน เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง