3 ความขัดแย้งใน ตะวันออกกลาง และผลกระทบ

ตะวันออกกลาง

ตะวันออกกลาง โซนแห่งความขัดแย่งที่มีทั้งเรื่องชาติพันธุ์ ศาสนา และอาวุธ ซึ่งก็ไม่ใช้เพียงแค่ความขัดแย้งของ อิสราเอล กับฮามาส เท่านั้น ซึ่งยังมีอีกหลายประเทศที่สถานการณ์ไม่สู้ดีนัก บทความนี้จึงพูดถึงความขัดแย้งของประเทศในโซนตะวันออกกลางว่าคืออะไรบ้าง และมีผลกระทบอะไรที่ส่งผลถึงประเทศไทย

ประเทศใน ตะวันออกกลาง ที่กำลังขัดแย้งกัน

โซนเดือดนี้เป็นที่พูดถึงกันมานานแล้วเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งอิหร่าน อิสราเอล หรือฮามาส ซึ่งมีปัญหาเรื่องเดิมๆ มาโดยตลอดจนมันกระจายความขัดแย้งไปเรื่อยๆ ทั้งที่ดูเหมือนจะจบแล้วแต่ก็เกิดขึ้นอีก ยิ่งตอกย้ำภาพจำแห่งความสูญเสียไปเรื่อยๆ กลายเป็นดินแดนที่ยากจะปรองดองกันแล้ว

ซึ่งปีที่ผ่านมา ข่าวใหญ่ก็ดูเหมือนจะนำเสนอแต่เรื่องราวของสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มปาเลสไตน์ฮามาส ซึ่งดูเหมือนว่านี้จะเป็นตัวจุดชนวนที่รอวันติดไฟของความขัดแย้งอื่นๆ ที่ตามมาด้วย 

  • ความขัดแย้งกลุ่มฮูตีในทะเลแดง กลุ่มที่เหมือนจะเป็นพันธมิตรกับฮามาส ที่ประกาศว่าจะโจมตีเรือทุกลำที่ใช้เส้นทางไปอิสราเอล เพื่อกดดันให้อิสราเอลยุติการรบกับฉนวนกาซา ซึ่งก็ได้โจมตีทั้งเรือขนส่งสินค้าต่างๆ ที่แล่นผ่านทะเลแดงนี้ด้วย ทำให้การขนส่งต้องชะงักไป และนี่ก็ถือเป็นการล้ำเส้นสำหรับประเทศที่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย
  • อิหร่านกับประเทศรอบข้าง เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศนี้ก็คือผู้สนับสนุนกลุ่มฮามาส และฮูตี ซึ่งทำให้อิหร่านมีส่วนร่วมหลักในความขัดแย้งในตะวันออกกลางนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาอิหร่านก็ได้เปิดฉากโจมตีพื้นที่ของอิรัก ซีเรีย และตามมาด้วยปากีสถาน โดยอ้างว่าการโจมตีอิรักคือการทำลายหน่วยข่าวกรองของอิสราเอส เพื่อชดเชยกับการที่อิสราเอลสังหารผู้บัญชาการนายหนึ่งของอิหร่านไป 

ที่มา : ภูมิภาคตะวันออกกลางระอุ! ความขัดแย้งลุกลามไม่หยุดหย่อน [1]

ความขัดแย้งของ อิสราเอล-ฮามาส มีที่มาที่ไปอย่างไร ?

ความขัดแย้งที่มีมานานหลายปี สำหรับสองชาติพันธุ์ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศเดียวกัน ซึ่งก็มีอีกหลายปมใหญ่ๆ อย่างการครอบครองดินแดนที่สองศาสนาบอกว่าศักดิ์สิทธิ์ ทั้งการแย่งพื้นที่อยู่อาศัยจนชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ต้องไปอยู่ในฉนวนกาซา ความไม่พอใจที่สะสมมาเป็นดินพอกหางหมู ทำให้กลุ่มฮามาสเปิดฉากยิงอิสราเอลแบบไม่ทันตั้งตัวเลยจนมีผู้เสียชีวิตและมีตัวประกันมากเป็นร้อยชีวิต

เหตุการณ์นี้ทำให้อิสราเอลเองก็โต้กลับด้วยการโจมตีทางอากาศไปที่ฉนวนกาซาอันเป็นที่อยู่ของฮามาส ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นหลักหมื่นแล้ว การโจมตีแบบไม่เลือกหน้าแบบนี้ยิ่งทำให้ความรุนแรงยกกำลังขึ้น ทั้งการถูกตำหนิจากหลายประเทศ และยังทำให้ประเทศพันธมิตรกับฮามาส ก็สนับสนุน และเข้าร่วมสงครามนี้ด้วย

ผลกระทบหลักๆ ที่ส่งผลต่อประเทศไทย

แน่นอนว่าโซน ตะวันออกกลาง ที่ส่งออกพลังงานที่สำคัญของโลก อย่าง ปุ๋ย, น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ด้วยความขัดแย้งกัน ก็ส่งผลกระทบแน่นอนซึ่งไม่ใช่แค่กับไทย แต่ขยายวงจรไปทั้งโลก ทั้งการโจมตีของกลุ่มฮูตีในทะเลแดง และการขยายตัวของความขัดแย้งก็อาจส่งผลร้ายกับการขนส่งและราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแน่นอน โดยผลกระทบที่ไทยจะได้ก็จะมีตรงๆ คือน้ำมัน และในระยะยาวคือเงินที่เฟ้ออยู่แล้ว

  • ราคาน้ำมันและการค้ากับตะวันออก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นในโซนตะวันออกกลาง ช่องแคบฮอร์มุซ ที่เป็นจุดกักเก็บน้ำมันสำคัญๆ ซึ่งประเทศเรานำเข้าในสัดส่วนของพลังงานที่นี่มากกว่าเพื่อนเลย ซึ่งหากความรุนแรงมันมากแบบรัสเซียจนอเมริกาต้องมาประกาศคว่ำบาตร แน่นอนว่ายังไงเราก็ต้องไปนำเข้าแหล่งอื่นที่แพงกว่า รวมถึงการค้ากับประเทศในโซนนั้นๆ ก็ต้องชะลอตัวลงอย่างแน่นอน ทั้งการนำเข้าสินค้า โดยจะต้องนำงบไปเน้นการทหารแทน
  • เงินเฟ้อ และการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และอุปสงค์ที่ชะลอตัวอย่างที่เห็นกันในกรณีของรัสเซียที่สร้างแรงกระเพื่อม wave ใหญ่ให้โลกเงินเฟ้อ และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปไปตามๆ กัน เพื่อดึงกราฟเงินเฟ้อให้ปักหัวดิ่งน้อยที่สุด ซึ่งไทยเองก็ไม่รอด ลดลงไปแล้วต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นอีกหากสงครามนี้ยังลุกลามต่อ

ที่มา : 3 ผลกระทบเศรษฐกิจไทย หากความขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ฮามาส’ ขยายวง [2]

สรุป ตะวันออกกลาง ความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบระดับโลก

ตะวันออกกลาง

บทความนี้เป็นการพูดถึงสงครามความขัดแย้งของสองกลุ่มทั้งสร้างความไม่สงบและทำเกินเหตุ ซึ่งจุดไฟไปให้ชนวนความขัดแย้งต่างๆ ในประเทศที่เกี่ยวข้อง และประเทศรอบๆ ขัดแย้งกัน เสี่ยงที่จะลุกลามไปถึงการคว่ำบาตร โดยยังส่งผลกระทบกับประเทศไทยอีกด้วย ทั้งทางตรง และทางอ้อม 

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง