น้ำมันกับเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับต้นทุนกับราคาสินค้าได้อย่างไร

น้ำมันกับเศรษฐกิจ

น้ำมันกับเศรษฐกิจ อีกหนึ่งการจับคู่ที่ไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากน้ำมันนั้น เป็นสินค้าที่มีความต้องการบริโภค สูงอยู่ตลอดเวลา แทบธุรกิจมีการใช้น้ำมัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่บทบาทของ ราคาน้ำมัน จะเข้ามากระทบกับเศรษฐกิจโดยตรง

น้ำมันกับเศรษฐกิจ กับความสำคัญในแง่ของภาพรวม

มุมมองของ น้ำมันกับเศรษฐกิจ ในโลกนี้ มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมัน สูงขึ้นเรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้านี้ ความต้องการใช้น้ำมันจะสูงขึ้นไป ถึง 110 ล้านบาร์เรลต่อวัน [1] เพิ่มขึ้นจากประมาณ 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2566

ทิศทางของความต้องการน้ำมัน มักจะมีทิศทางเดียวกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจเสมอ ปริมาณการผลิตน้ำมัน การซื้อขายน้ำมัน เป็นตัวกระตุ้น และผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้า โดยเหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เราจะขยายความให้ทราบกันในหัวข้อถัดไป

เหตุผลที่ทำให้น้ำมัน ไปเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

น้ำมันกับเศรษฐกิจ

น้ำมันไปเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจได้อย่างไรนั้น มีเหตุผลหลายประการด้วยกัน

  1. แทบทุกธุรกิจต้องใช้น้ำมัน ธุรกิจที่ผลิตสินค้า ต้องมีการขนถ่ายสินค้า เพื่อส่งถึงมือผู้บริโภค ในกระบวนการขนส่งนี้ ต้องใช้รถ ที่ต้องเติมน้ำมันให้เคลื่อนที่ได้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค จึงเลี่ยงการใช้น้ำมันไม่ได้
  2. ขั้นตอนการผลิตที่มีการใช้น้ำมัน ในอุตสาหกรรมบางอย่าง มีทั้งเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า และใช้น้ำมัน ดังนั้นบางอุตสาหกรรมจึงมีการใช้น้ำมันเพื่อผลิตสินค้าโดยตรง
  3. ขั้นตอนการประสานงาน และการดำเนินการ เกิดการใช้น้ำมัน แม้จะไม่ใช่กระบวนการขนส่งสินค้า แต่เมื่อเกิดการเจรจาทางการค้า การติดต่อประสานงาน ย่อมเกิดการใช้รถใช้ถนน จากพนักงาน เพื่อเดินทางไปติดต่อธุรกิจ
  4. หากราคาน้ำมันสูงขึ้น จะไปส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจเหล่านี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าในท้องตลาดสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
  5. การดำเนินทุกธุรกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว และเดินไปข้างหน้า ด้วยเหตุผลการใช้น้ำมันที่กล่าวมา จึงก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้น

สัดส่วนในการใช้น้ำมัน และราคา ณ ปัจจุบันเป็นเช่นไร

ในปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้น้ำมัน คิดเป็น 30% จากการใช้เชื้อเพลิงทั่วโลก [2] โดยการใช้น้ำมันตรงนี้ ส่วนใหญ่ใช้ไปกับกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง กับการขนส่งสินค้า เช่นการใช้รถ เรือ และเครื่องบิน

ราคาของน้ำมัน ผันแปรไปกับความต้องการของผู้บริโภค โดยในช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 71 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนในปัจจุบัน ณ วันที่ 8 เมษายน 2567 ราคาน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 86 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล [3]

จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่ต่างกัน 4 เดือน ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมัน ทั้งจากเทศกาลต่างๆในช่วงต้นปี จากวันหยุดยาวที่เกิดการเดินทาง และจากเหตุผลด้านอื่นๆ

น้ำมันกับเศรษฐกิจ ในมุมมองที่เกี่ยวกับการลงทุน

น้ำมันกับเศรษฐกิจ

การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทน้ำมัน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลา ถึงจะมีความกังวลว่า สงครามอิสราเอล ปาเลสไตน์ จะขยายวงกว้างขึ้น และไปกระทบผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ในตะวันออกกลาง ทำให้การผลิตน้ำมันได้ลดลง ถึงอย่างไรเราก็คงต้องจับตามองกันต่อไป

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดทั้งหมด ของการลงทุน หุ้นน้ำมัน

น้ำมันกับเศรษฐกิจ กับสถานการณ์ตลาดในประเทศไทย

น้ำมันกับเศรษฐกิจ ในประเทศไทยนั้นมีตลาดที่กว้าง เนื่องจากมีความต้องการใช้น้ำมันที่สูง จากการที่ประเทศไทยไม่มีข้อบังคับที่ยุ่งยาก ในการซื้อขายรถ โดยรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ส่วนบุคคล มีสัดส่วนการถือครองแทบทุกครัวเรือน ต่างจากประเทศอื่นที่มีข้อบังคับกฎหมาย ที่เข้มงวดกว่า

และอีกหนึ่งประการคือ ความแพร่หลายในการใช้ รถไฟฟ้า เพื่อลดการใช้น้ำมัน ในประเทศไทยนั้นยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ยังไม่แพร่หลาย ต่างจากบางประเทศในยุโรป ที่มีการสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้า ทดแทนรถที่ใช้น้ำมัน

น้ำมันกับเศรษฐกิจ กับทิศทางต่อไปในโลกอนาคต

ถึงแม้ว่าเราจะเห็นตัวเลขการบริโภค ซื้อขายมากยิ่งขึ้นก็ตาม รวมถึงการคาดการณ์การใช้น้ำมันในอนาคตข้างหน้า ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ปัจจุบันนี้มีกระแสนิยม เรื่องการลดโลกร้อน ลดการใช้พลังงานฟอสซิล

เทคโนโลยีการใช้รถไฟฟ้า เริ่มเข้ามาแทนที่รถที่ใช้น้ำมัน บางส่วนในโลกแล้ว แถมยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากการรณรงค์ลดการปล่อยคาร์บอน ถ้าหากเป็นเช่นนั้นต่อไป การใช้น้ำมันจะลดลง สวนทางกับที่มีการคาดการณ์เอาไว้

สรุป น้ำมันกับเศรษฐกิจ

น้ำมันกับเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อไป ในอนาคตข้างหน้านี้ อาจเกิดความเปลี่ยนแปลง ของการใช้น้ำมันตามมา ซึ่งเราคงต้องคอยจับตาดูสถานการณ์ ในอนาคตกันต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง