บิตคอย ตัวเลือกใหม่ในสินทรัพย์สำรอง พร้อมเทียบกับ ทอง

บิตคอย

บิตคอย สินทรัพย์ใหม่ที่แมสในวงการลงทุนอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ด้วยความผันผวนที่อยู่ๆ ก็ขึ้นมาหลายพันเปอร์เซ็นต์จากปรากฏการณ์ Bitcoin halving ที่ 4 ปีจะมี 1 ครั้ง  และล่าสุดก็ลดมูลค่าลงไปเรื่อยๆ เลย บทความนี้จึงมาให้ความหมายของ บิตคอยน์ พร้อมเปรียบเทียบกับอีกสินทรัพย์สำรอง ที่อยู่กับมนุษย์มานานกว่า 5000 ปีอย่างทองคำด้วย

 บิตคอย คืออะไร ทองแห่งดิจิทัลที่เพิ่มมูลค่าทุก 4 ปี

สกุลเงินดิจิทัลที่เป็นสกุลแรกของโลก โดยสร้างขึ้นมาในฐานของบล็อคเซน Blockchain [1] ที่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินได้อย่างโปร่งใส โดยมีจุดเด่นหลักๆ คือการกระจายศูนย์ Decentralized ที่รัฐบาลหลายประเทศก็ไม่ค่อยชอบสิ่งนี้มากเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเหรียญที่สามารถถขุดหมดได้ 

โดยการพูดถึงสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นในปี 2009 ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็มีราคาประมาณ 0.003 ดอลลาร์ ซึ่งมีราคาที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งการรู้จักที่เพิ่มขึ้น รวมกับ Bitcoin halving ก็เพิ่มมาจนปี 2022 ก็มีราคามากถึง 40000 ดอลล่าร์เลย โดยเจ้าตัวนี้คือความรู้ใหม่ที่หลายคนที่ต้องการลงทุน ต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วน และหลายคนก็ยังเลือกเดิมพันกับทองที่มีความมั่นคงกว่านั่นเอง

เปรียบเทียบ บิตคอย กับ ทอง เหมือนและต่างกันอย่างไร ?  

ในหัวข้อนี้จึงจะมาพูดถึงคุณลักษณะเด่น ของสองทรัพย์สินคือทอง กับ บิตคอย ว่าทั้งสองอย่างนี้มีคุณสมบัติที่เหมือนกันตรงไหนบ้าง และมีอะไรที่ต่างกันและควรระวังอะไรยังไง และมันก็คือเหตุผลทั้งหมดที่ทองกับบิตคอยน์เป็นที่พูดถึงกันอย่างหน้าหู ในการเก็บไว้เป็นสินทรัพย์ที่คงความมั่งคั่ง

Bitcoin

  • ในด้านของปริมาณของสิ่งนี้จะมีอยู่อย่างจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ แต่ข้อดีก็คือการขุดบิตคอยน์นั้นก็จะสามารถขุดออกมาได้เรื่อยๆ และต่อเนื่องกว่าทอง
  • สินทรัพย์ที่ต้องระวังเป็นอย่างมากในเรื่องของการรักษามูลค่า เพราะสิ่งนี้มันมีความผันผวนที่สูงมากที่สุดแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับทอง ซึ่งสำหรับคนที่มองในระยะยาว บวกกับการกระจายไปในสินทรัพย์แบบอื่นด้วย กราฟของบิตคอยระยะยาวก็ถือว่าค่อนข้างพุ่งขึ้นไปตลอด
  • ในเรื่องของความปลอดภัยตัวนี้สามารถรับประกันความเป็นเจ้าของได้แบบไม่มีใครมาแย่งๆ ได้หากไม่โอนไปเอง เพราะมีระบบบล็อกเชนที่คอยบันทึกธุรกรรมทั้งหมดไว้ ใช้ใครก็สามารถเข้าไปดูได้หมดว่าเป็นของใคร เปลี่ยนแปลงก็แทบเป็นไปไม่ได้

Gold

  • ในปริมาณของทองคำนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการหา ซึ่งไม่รู้ว่ามีจำกัดที่เท่าไหร่ แต่ความลำบากคือมันไม่ได้หาง่ายๆ ไม่มีความต่อเนื่อง ซึ่งความหายากนี้เองแหละที่ทำให้มันเลอค่ามากๆ 
  • ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงมาอย่างยาวนาน ซึ่งความไม่ผันผวนจึงมีลักษณ์ที่คอยๆ ขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าแต่มันคงหลายคนจึงเลือกที่จะซื้อถือไว้ยาวๆ เพื่อรักษาความมั่งคั่งทางการเงิน ที่ทั้งหนีการลดของเงินเฟ้อได้และเพิ่มกำไรในยามวิกฤตไปในตัว
  • ในการถือครอบและความปลอดภัยนั้นสำหรับทองอาจจะต้องการตู้เซฟ และธนาคารที่มีความปลอดภัยด้วย ซึ่งทองเป็นสิ่งที่หาที่เก็บยาก แต่ง่ายในการถูกขโมยเช่นกันหากไม่รักษาดีๆ 

ที่มา : บิตคอยน์ VS ทองคำ คู่แข่งสำคัญที่น่าจับตามอง [2]

ตัวอย่าง เอลซัลวาดอร์ที่นำ บิตคอย มาใช้เป็นระบบเงินในประเทศ

ประเทศแรกของโลกที่ใครในวงการนี้ได้ยินก็ต้องรู้จัก ด้วยการนำเอาบิตคอนย์มาเป็นสกุลเงิน ที่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อกลางปี 2021 ซึ่งก็เป็นผลมาจากระบบเงินเก่าในประเทศนั้นตกต่ำอย่างมากที่เงินเฟ้อและความเหลื่อมล้ำต่าง แม้แต่เงินของตัวเองในธนาคารยังไม่สามารถถอนมาใช้ได้เลย โดยการทำบิตคอยมา ก็สามารถช่วยในหลายๆ เรื่องเลย

  • ปัญหาในการโอนเงินระหว่างประเทศ ด้วยความที่เป็นประเทศที่มีอาชญากรสูง รวมถึงเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเมือง ผู้คนจึงต้องไปทำงานถึงต่างประเทศ และการส่งเงินกลับมาให้คนที่บ้านก็ต้องส่งผ่านตัวกลาง จากแอพโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็มีค่าธรรมเนียมถึง 33% โดยการใช้บิตคอยโอนที่มีค่า Gas ต่ำจึงช่วยเรื่องนี้ได้มหาศาล
  • ระบบการเงินที่มีค่าเงินที่ต่ำลงเรื่อยๆ ด้วยการเงินในประเทศที่สกุลเงินโคโลนอ่อนค่าลง ยิ่งทำให้คนส่วนมากหันมาถือเงินสกุลอื่นๆ อย่างสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งการเข้าถึงระบบการเงิน และธนาคารที่ไม่ยอมให้ถอนเงินมากเกินอีก ทางออกที่ดีที่สุด ณ ตอนนั้นก็คือการหันหน้าไปพึ่งพาการใช้บิตคอย ที่เข้าถึงได้ทุกคนและแก้ไขเรื่องมูลค่าเงินด้วย

สรุป บิตคอย สินทรัพย์น่าลงทุน ที่ยังต้องระวังความผันผวน

บิตคอย

บทความนี้เป็นการพูดถึงตัวเลือกในการเก็บมูลค่าของเงินในตัว ให้มีมูลค่ามั่นคงขึ้น จากสินทรัพย์ที่เป็นความรู้ใหม่ แต่มีมานานแล้วอย่างบิตคอย ซึ่งก็จะมาเปรียบเทียบกับอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจอย่างทอง พร้อมพาไปดูประเทศที่ตัดสินใจนำบิตคอยเข้าเป็นระบบการเงินของประเทศอย่างเต็มตัวอย่าง เอลซัลวาดอร์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง