ร้านโชห่วย หนึ่งในธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่ยังคงมีบทบาท และความจำเป็นต่อผู้บริโภค ในท้องถิ่น ตามชุมชน และครัวเรือนต่างๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รุ่นคุณปู่ คุณทวด เก่าแก่เหมือนกับแบรนด์ ชาตรามือ และอื่นๆ จวบจนถึงปัจจุบัน ที่สามารถเรียกได้ว่า เสน่ห์ความเป็นไทย ที่แท้ทรู
ร้านโชห่วย คือ ร้านค้าเล็กๆ ในชุมชน ตามหมู่บ้าน หรือตรอก ซอกซอยต่างๆ ที่ขายของชำทั่วไป โดยคำว่า “ โชห่วย ” นั้น มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว 2 คำ ได้แก่
และเมื่อแปลรวมๆ จะได้เป็นคำว่า ” รวบรวมสินค้า ” หรือ ” มีสินค้ามากมาย ” ซึ่งคนจีนในสมัยก่อน ได้เข้ามาทำการค้าขายในไทย เป็นจำนวนมาก จึงเกิดการเรียกร้านค้า ที่มีสินค้าเยอะแยะ และหลากหลายว่า ร้านโชฮ่วย หรือร้านโชห่วย นั่นเอง [1]
นิยามของคำว่า ร้านโชห่วย นั้น หากแปล แบบที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ร้านค้า หรือร้านขายของชำ ขนาดเล็ก ที่สามารถหาซื้อของกิน ของใช้ ของแห้ง ของสด ของจำเป็นบางชนิด และอื่นๆ แบบแบ่งขายได้ ตามความต้องการของผู้ซื้อ และผู้ขาย ที่สามารถตกลงกันได้ ในราคาที่ถูก สมเหตุสมผล และเป็นมิตรต่อผู้บริโภค
ที่มา: ยกระดับรายได้ร้านโชห่วย ด้วยสินค้าสำคัญที่ชุมชนขาดไม่ได้ [2]
ร้านโชห่วย หรือร้านขายของชำ ถือได้ว่า เป็นร้านค้าประจำชุมชน ที่ได้รับความนิยม ของผู้ซื้อ สูงถึง 35.19% จากผู้ที่มีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท โดยร้านสะดวกซื้อ เปอร์เซ็นต์ความนิยม จะอยู่ที่ 47.76% ซึ่งสูงกว่า ร้านโชห่วยก็จริง [3] แต่จุดเด่น และเสน่ห์ของร้านโชห่วยนั้น ยังถือได้ว่า ค่อนข้างที่จะสูงกว่า 7-11 และร้านสะดวกซื้อในหลายๆ ประการ เช่น
7-11 หรือ ร้านสะดวกซื้อบางแห่ง จะไม่มีสินค้าบางรายการ หรือบางประเภท วางจำหน่าย เหมือนกับร้านโชห่วย อาทิเช่น ขนมโฮมเมด ที่ทำโดยคนในชุมชน ถ่านไม้ย่างหมูกระทะ น้ำอัดลมถุง ที่ใส่น้ำแข็ง กาแฟโบราณถุง ของประดิษฐ์ และของใช้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นำมาฝากขาย เป็นต้น
และที่สำคัญ ยังไม่สามารถแบ่งขายสินค้านั้นๆ ในราคาที่ 1 บาท 2 บาท 3 บาท หรือ 5 บาท 10 บาทได้ ร้อยละ 95% ของ 7-11 และร้านสะดวกซื้อ จะขายเป็นชิ้น โหล แพ็ค และแบบยกลังมากกว่า