ลงทุน อุตสาหกรรมเกม พร้อมแนะนำกองทุนเกมโลก

ลงทุน อุตสาหกรรมเกม

ลงทุน อุตสาหกรรมเกม การมาถึงของธีมโลกใหม่อันเป็นเมกะเทรนด์ ตามๆ กันมาทั้ง ธีมสีเขียว พลังงาน บล็อกเชน และ AI  ซึ่งการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ก็เติบโตไว และน่าสนใจมากสำหรับนักลงทุน หากใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ก็ไปเรียนรู้ธุรกิจเกี่ยวกับเกม และการเติบโตของมัน ทั้งตัวเด่น และแนวโน้มของไทยกัน ก่อนจะไปดูกองทุนเกี่ยวกับการ ลงทุน หุ้นเกม ด้วย

การเติบโตของธุรกิจที่ ลงทุน อุตสาหกรรมเกม

จากปัญหาของการขาดแคลนของฮาร์ดแวร์ ในปี 2020 จึงเกิดธุรกิจมากมาย และเพิ่มยอดการผลิตเพิ่มขึ้นของฮาร์ดแวร์มากมายอย่าง การ์ดจอ แรม รวมไปถึงที่เริ่มนิยมกันอย่าง SSD และอุปกรณ์อีกมากมาย แถมยังมีธุรกิจที่สร้างมาจากการเกิดของอีสปอร์ตโดยตรงเลย ก็คือบริษัทรวมทีมไปแข่งอีสปอร์ต สตรีมเมอร์ และนักแคสเกม ที่ผุดขึ้นมาทั่วโลกราวกับดอกเห็ดหลังฝนใหญ่

ปัจจัยธุรกิจเกี่ยวกับเกม ที่เติบโตได้อย่างโดดเด่น

โดยการเติบโตของเกมและการ ลงทุน อุตสาหกรรมเกม ที่ฉุดไม่อยู่นั้นก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนหลายๆ คน ที่มีปัจจัยต่างๆ หลายด้าน ซึ่งจากข้อมูลบริษัทวิจัยตลาดเกมในปี 2024 นี้ระบุว่า ตลาดเกมทั่วโลกจะมูลค่าสูงแบบต่อเนื่องที่อัตรา CAGR 5.6% ต่อปี และจะมากถึง 222.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งก็มีปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบดังนี้

  • การแข่งขันที่รุนแรง ธุรกิจทั้งโลกที่ทำเกี่ยวกับสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด จะเห็นว่ากลุ่มผู้พัฒนาเกมมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ตลอดเวลา อย่างระบบคลาวน์เกม การใช้ AR VR Metaverse หรือ NFT เองแต่การแข่งกันเองนี้ก็ส่งผลให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไปด้วย
  • โมเดลการสร้างรายได้ที่แตกต่าง แม้จะเป็นหุ้นที่เกี่ยวกับเกมเหมือนกันแต่ธุรกิจเกี่ยวกับเกมนั้นกว้างมากมีทั้งกลุ่มที่สร้างรายได้จากตัวเกมอย่างบริษัทสร้างเกม หรือบริษัทที่ได้ลิขสิทธิ์จัดทัวร์นาเมนต์ กลุ่มฮาร์ตแวร์ที่ผลิตอุปกรณ์ในการเล่นเกมต่างๆ  หรือจะเป็นกลุ่มย่อยๆ อย่างธุรกิจค้าปลีกอุปกรณ์เกม การตลาดและสังกัดทีมแข่งอีสปอร์ตระดับประเทศ

ที่มา: หุ้นเกมและอุปกรณ์เกม น่าสนใจแค่ไหน? [1]

ปัญหาและช่องว่าง ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกมไทย

โดยปัญหาของอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย จากอ้างอิงที่นำมา ก็เป็นการเปรียบเทียบ ช่องว่างของไทยเอง กับอุตสาหกรรมเกมประเทศอื่นๆ อย่างจีน, สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้, เยอรมนี, อังกฤษ และประเทศสิงคโปร์ ก็สรุปได้หลักๆ ประมาณนี้

  • ปัญหาภาครัฐ ขาดความเข้าใจในตัวของเกมและมองไม่เห็นช่องทางในการสร้างรายได้จากมัน แถมยังมีมุมมองในแง่ลบต่อการเล่นเกมอีกด้วย จึงไม่ได้สนับสนุนแบบประเทศ จีนหรือเกาหลีให้เป็นวาระแห่งชาติ หรือการแบ่งงบสนับสนุนแบบอเมริกา ด้วยงบประมาณที่จำกัดให้อุตสาหกรรมนี้ต้องแข่งขันกับดิจิทัลและการสร้างสรรค์อื่นๆ ในประเทศด้วย
  • การจ้างแรงงานสร้างสรรค์ นักพัฒนาส่วนมากของไทยไม่สามารถหาหรือเข้าถึงแหล่งทุนได้ แถมในการรับจ้างเข้ามาทำงานมากกว่าจะมาสร้างสรรค์ผลงานยอดเยี่ยมของตัวเอง อีกทั้งยังต้องการประสบการณ์ในการผลิตเกมใหญ่ๆ และการเป็นผู้ประกอบการเองด้วย
  • สมาคม ชุมชนนักพัฒนา และผู้เล่นเกม ถึงแม้จะร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้เล่นเกมเอง ในบริษัทเกี่ยวกับซอฟต์แวร์เกมไทย แอนิเมชั่น และสมาคมกีฬาอีสปอร์ตต่างๆ แต่ก็ยังขาดแรงหนุนจากรัฐบาล ทั้งการช่วยเหลือและวางนโยบายของระบบนิเวศสร้างสรรค์ให้
  • ประชาชนทั่วไป ยังเห็นได้ชัดอยู่ว่าประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะรุ่นก่อนๆ ยังมองเกมในด้านเดียว คือด้านลบของเกม ทั้งจากการนำเสนอข่าว ที่ให้เกมเป็นจุดก่อกำเนิดความรุนแรง ไม่ให้ความสำคัญในอาชีพที่เกี่ยวกับเกม ซึ่งอาจต้องให้ความรู้ความเข้าใจในอีกมุมมอง และโอกาสเติบโตในธุรกิจแบบนี้ในขณะที่โลกไม่ได้รอนิ่งๆ แล้ว

ที่มา: รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ [2]

ธุรกิจที่เกี่ยวกับ E-sports และกองทุนที่ซื้อหุ้นเกี่ยวกับเกม

3-4 ปีที่ผ่านมา การแข่งขัน E-sports กลายเป็นที่นิยม และได้รับความสนใจในกลุ่มผู้เล่นและคนดูหลายประเทศ แถมมีการบรรจุลงไปในการแข่งขันกีฬาต่างๆ ด้วยหลายรายการ จากสถิติอายุเฉลี่ยของผู้เล่นเกมก็มีอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความนิยมจึงก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ และหลากหลายเกี่ยวกับเกมทั้งตรงๆ และทางอ้อม พร้อมด้วยกองทุนที่น่าสนใจ ซึ่งลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับ E-sports ด้วย

6 ประเภทธุรกิจที่เกิดขึ้นจาก E-sports

  • ค่ายเกม และผู้พัฒนา: ค่ายผลิตและขายเกมต่างๆ ทั้งรูปแบบมือถือ และพีซี บริษัท EA, Blizzard, Ubisoft, Tencent, Garena หรือ Nintendo และอีกเพียบ
  • ผู้ผลิตและพัฒนาเครื่องเกม และยังเป็นหนึ่งในค่ายเกม และผู้พัฒนาเกมด้วยอย่าง Nintendo (nintendo switch), Sony (play station), Microsoft (Xbox)
  • บริษัทผลิตชิปเซตเพื่อประมวลผลภาพกราฟิกซึ่งผูกขาดตลาดทั้งหมดและแข่งอยู่หลักๆ 2 เจ้า  อย่างบริษัท Nvidia / AMD
  • E-Sports: ผู้จัดการแข่งขัน E-Sport ที่ได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่ และสตรีมมิ่ง ยกตัวอย่าง EA, Konami, Blizzard, Take-Two Interactive หรือ NetEase
  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเล่นเกม อย่างเครื่องคอมและโน้ตบุ๊ก เช่น Micro Star, Asus, Kingstons, Razer หรือ Logitech
  • Live streaming: platform ที่ใช้การถ่ายทอดสดการเล่นเกม Twitch Bilibili ซึ่ง Youtube ก็เป็นหนึ่งในนั้น 

ที่มา: ลงลึกธีมลงทุน E-sports พร้อมส่องหุ้นในกองทุน LHESPORT & WE-PLAY [3]

แนะนำกองทุน LHESPORT กับ WE-PLAY

LHESPORT

  • ประเภทกองทุน: Technology Equity
  • ลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ: 1000 บาท ครั้งต่อไป 100 บาท
  • มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 606,503,857.81 บาท
  • ค่าธรรมเนียม: 0% ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +9.09% 

ดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena

WE-PLAY

  • ประเภทกองทุน: Technology Equity
  • ลงทุนขั้นต่ำ: 1 บาท
  • ค่าธรรมเนียม: 1.07% ต่อปี
  • ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +0.09%
  • ลงทุนธุรกิจเกมในหลายประเทศ อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น จีนตามลำดับส่วนแบ่งตลาดเกม

ดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ navtable

สรุป ลงทุน อุตสาหกรรมเกม กับโอกาสไปต่ออีกไกล

ลงทุน อุตสาหกรรมเกม

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นและโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่การมาของอินเทอร์เน็ต และเร่งขึ้นไปอีกจาก E-sport ที่สร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย พร้อมแนวโน้มของไทยที่อาจไปต่อได้ไกลเพียงติดปัญหาในส่วนของการสนับสนุน ในขณะที่บุคคลทั่วไปก็สามารถเติบโตได้จากกองทุนแนะนำ ที่ลงทุนเกี่ยวกับโลกของเทคโนโลยีและเกม

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง