ลงทุน SCG บริษัทซีเมนต์ไทย ที่อายุกว่า 100 ปี

ลงทุน SCG

ลงทุน SCG ธุรกิจปูนซีเมนต์ของไทยที่อยู่มานาน แถมยังเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้มากขึ้นที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการก่อสร้าง ตั้งแต่การผลิตซีเมนต์ ไปถึงธุรกิจต่างๆ ที่มีทั้งกระดาษ และเคมีภัณฑ์อีกด้วย บทความนี้จึงเป็นการพูดถึงประวัติของธุรกิจนี้ที่มี การเติบโตแบบ exponential น่าสนใจ และการแนะนำช่องทางลงทุนกับ SCG 

ความเป็นมาของธุรกิจ SCG กับเส้นทางเติบโต

จุดเริ่มต้นของเอสซีจีนั้นเริ่มที่การเป็นบริษัทที่อาจคุ้นหูกันอย่าง ปูนซิเมนต์ไทย โดยเริ่มในปีพ.ศ. 2456 จากพระราชดำริของรัชกาลที่ 6 ที่ประสงค์ให้มีการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อที่จะเอามาใช้ประโยชน์ในประเทศ เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ รวมไปถึงการสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ และลดต้นทุนจากการนำเข้าวัสดุต่างประเทศได้

  • โดยในปี พ.ศ. 2481 ก็เริ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่เน้นก่อสร้างอย่างการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา หลังจากการผลิตปูนซีเมนต์เป็นที่ต้องการขึ้นเรื่อยๆ จากการทำสิ่งปลูกสร้าง
  • ธุรกิจในกลุ่มนี้ ยังมีการผลิตไปหลายๆ อย่าง ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ กับกระเบื้องหลังคา และวัสดุสำหรับก่อสร้าง เช่น คอนกรีตมวลเบา แบบผสมเสร็จ รวมไปถึงแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้สังเคราะห์ โดยปัจจุบันกำลังการผลิตหลักของ บริษัทนี้ก็สามารถผลิตปูนซีเมนต์เทาได้ถึง 23 ล้านตันต่อปี

ที่มา: รู้จัก ‘เอสซีจี’ องค์กรแห่งนวัตกรรมที่ความยั่งยืนไม่ใช่แค่จุดหมาย แต่คือการเดินทางที่ไม่เคยหยุดนิ่ง [1]

ธุรกิจธีม Green ที่สามารถสร้างกำไรต่อเนื่อง

ในปัจจุบันในธุรกิจนี้ เป็นการผลิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกผลิตภัณฑ์ และต้องคำนึงถึงธีมสีเขียวที่เป็นเทรนด์ที่ต้องปรับตัวทุกธุรกิจซึ่งก็ทำให้ทุกผลิตภัณฑ์ในเครือเอสซีจี โดยปรับเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทจึงเป็นต้นแบบธุรกิจการก่อสร้างที่สามารถเติบโตภายใต้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

โดยผลประกอบการในปี 2023 ล่าสุด ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมีรายได้ 499,646 ล้านบาท ในส่วนของปูนซีเมนต์ซึ่งลดลงมา 12% แต่ในด้านของยอดขายของ SCG Logistics กลับได้กำไรถึง 25,915 ล้านบาท โตกว่าเดิม 21% ในด้านของสถานะทางการเงินในสิ้นปี 2023 ที่ผ่านมาก็มีกระแสเงินสดถือไว้ถึง 68,000 ล้านบาท [2]

ลงทุน SCG กับธุรกิจที่ไม่ได้มีแค่ซีเมนต์

ในปัจจุบันจากที่ระบุมาข้างต้น ที่บริษัทเอสซีจีได้มีการขยายธุรกิจไปทางกระเบื้องหลังคา หรือวัสดุอื่นในการก่อสร้าง มันจึงทำให้ปัจจุบัน กิจการนี้ดำเนินธุรกิจใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักๆ และเป็นธุรกิจทำเงินเลยก็ว่าได้ ซึ่งก็มีธุรกิจดังนี้

  1. ธุรกิจหลักๆ ปูนซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นการผลิตพร้อมกับจำหน่ายเองทั้งหมด โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับก่อสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจร รวมไปถึงบริการด้านธุรกิจค้าปลีกต่างๆ 
  2. ธุรกิจเคมิคอลส์  ผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ต้นไปถึงปลายน้ำเคมีภัณฑ์ขั้นต้น อาทิ อย่างโอเลฟินส์ ไปจนถึง เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีน หรือพอลิสไตรีน และเอ็มเอ็มเอ
  3. ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวกับกระดาษ และบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรด้วยคุณภาพระดับโลก พร้อมมีการรับออกแบบ ผลิตให้เบ็ดเสร็จเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ให้ธุรกิจต่างๆ ปัจจุบันได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ SCGP  จำกัด พร้อมการออกหุ้นกู้ในปีนี้ด้วย

ที่มา: รู้จัก ‘เอสซีจี’ องค์กรแห่งนวัตกรรมที่ความยั่งยืนไม่ใช่แค่จุดหมาย แต่คือการเดินทางที่ไม่เคยหยุดนิ่ง [1]

ส่องการลงทุน SCG มีสตาร์อัพไหนบ้าง

ด้วยความต้องการที่จะพัฒนาธุรกิจให้ไปไกลกว่าเดิม พร้อมการปรับเปลี่ยนตามกระแสต่างๆ ของโลก ในการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ ก็สำคัญ นอกจากจะทำกำไรได้จากการลงทุนแล้ว บริษัทยังได้ Know how ใหม่ๆ ทั้งยังสร้าง Synergy ให้ 3 กลุ่มธุรกิจหลักของเอสซีจีดังที่ระบุไปข้างต้นได้ทำงานร่วมกันง่ายอีกด้วย สำหรับแผนการลงทุนจึงปรับจุดโฟกัสที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SCG เป็น 2 ด้าน

  • การเลือกลงทุนเชิงพื้นที่ บริษัทนี้ลงทุนกับธุรกิจในอินเดียเป็นส่วนใหญ่ จากประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จมาไม่น้อยในพื้นที่อินเดีย ซึ่งก็มีหลายบริษัทใหม่ๆ ที่เติบโตได้ดี รวมถึงในจีนเองที่มีสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จจำนวนมาก ตัวอย่างหุ้นก็จะมี Baania แพลตฟอร์มซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ BUILK บริษัทที่บริการด้านซอฟต์แวร์เกี่ยวกับงานก่อสร้าง
  • การเลือกลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตในระยะเริ่มต้น ที่ลงทุนเฉลี่ยต่อรายด้วยเงิน 1 ล้านดอลลาร์ และจะมีการเพิ่มจำนวนลงทุนเฉลี่ย 5-10 ล้านดอลลาร์

ที่มา: ส่องพอร์ต “Addventure” SCG ลงทุนสตาร์ทอัพตัวไหนบ้าง [3]

รายละเอียดหุ้นกู้ SCG

หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย จดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และหมวดธุรกิจวัสดุก่อสร้าง มีนโยบายการจ่ายปันผลร้อยละ 40-50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งในกรณีที่มีความจำเป็น บริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผลในช่วงต่างๆ ตามความเหมาะสมได้

  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 282,000 ล้านบาท
  • รายได้รวม 127,036.01 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 2,424.86 ล้านบาท
  • ปริมาณหุ้น 1,037,837 หุ้น
  • ราคา 235 สูงสุด 237

แนะนำหุ้นกู้ของ SCGP ที่มีถึง 3 เฟส

ในส่วนของบริ