สินค้ากิฟเฟนกู๊ด คืออะไร แล้วใยจึงขัดต่อกฎทางเศรษฐศาสตร์

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด (Giffen good) หรือ สินค้ากิฟเฟน ที่ไปขัดต่อ กฎทางเศรษฐศาสตร์ ในเรื่อง อุปสงค์-อุปทาน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วสินค้าตัวนี้คืออะไรกันแน่ ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ สินค้าชนิดนี้กันมากยิ่งขึ้น

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด (Giffen good) คืออะไร ?

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด เป็นกลุ่มสินค้าประเภทหนึ่ง ที่ถูกจัดโดยนักเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะคล้ายกับสินค้าทั่วๆไป แต่มักทำให้พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ไม่เป็นไปตามกฎของอุปสงค์-อุปทาน ที่หากมีราคาสูง จะถูกซื้อน้อยลง และหากมีราคาถูก จะถูกซื้อมากขึ้น [1]

ทำความรู้จักกับ อุปสงค์ และอุปทาน

อุปสงค์ อุปทาน

อุปสงค์ และอุปทาน เกี่ยวข้องกับ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด โดยตรง ในหัวข้อนี้เราจะกลับมาย้อนถึงเรื่องนี้กันก่อน เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป และความเชื่อมโยงของทั้ง 2 สิ่งนี้

อุปสงค์ คือ ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในช่วงเวลาใด ณ เวลาหนึ่ง [2] มีมากขึ้น หรือน้อยลง ไปตามความต้องการบริโภคสินค้า หรืออำนาจในการบริโภคสินค้า

อุปทาน คือ ความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิต ในช่วงเวลาใด ณ เวลาหนึ่ง ตัวอุปทานนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อสามารถขายสินค้าหรือบริการ ที่ได้รับกำไรสูงขึ้น หรือต้นทุนในการผลิต มีตัวเลขที่ลดต่ำลง

ปัจจัยที่เข้ามาส่งผลต่ออุปสงค์ และอุปทาน

สิ่งที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ไปทำให้ อุปสงค์ และอุปทาน เพิ่มขึ้น หรือลดลง มาจากปัจจัยสำคัญดังนี้

ปัจจัยที่เข้ามาส่งผลต่อ อุปสงค์

  • ราคาสินค้า เป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อ อุปสงค์ ค่อนข้างมาก เมื่อราคาสินค้าขยับขึ้น จะทำให้ผู้คนไม่อยากซื้อ อุปสงค์น้อยลง และเมื่อราคาสินค้าลดต่ำลง จะทำให้ผู้คนซื้อสินค้ามากขึ้น อุปสงค์จึงสูงขึ้น [3]
  • รายได้ของผู้บริโภค หากมีรายได้ที่สูงขึ้น ก็ย่อมมีการใช้จ่ายที่มากขึ้นตาม แต่เมื่อรายได้น้อยลง ก็จะเกิดผลในทางตรงข้าม คือการประหยัดเงินแทน
  • ข่าวสาร อย่างเช่น วิกฤตราคาโกโก้ จะทำให้ราคาช็อกโกแลตสูงขึ้นในอนาคต ผู้บริโภคอาจมีแนวโน้มซื้อช็อกโกแลตมาตุน ก่อนที่ราคาจะขึ้น หรือหันไปบริโภคขนมหวานชนิดอื่นทดแทน
  • เทรน สิ่งที่เกิดขึ้นตามกระแสนิยม ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เทรนการกินผักเพื่อสุขภาพ จะเป็นผลให้อุปสงค์ต่อผักสูงขึ้น ในช่วงระยะเวลาที่เกิดเทรน
  • วิกฤต ไม่ว่าจะเป็นสงคราม โรคระบาด ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคซื้ออาหารเพื่อกักตุน และพยายามไม่ใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง

ปัจจัยที่เข้ามาส่งผลต่อ อุปทาน

  • ราคาของสินค้า อุปทานจะแปรผันต่อราคาสินค้าโดยตรง ยิ่งสินค้าราคาสูงขึ้น ความต้องการขายก็จะยิ่งมาก แต่หากราคาถูกลง ความต้องการขายก็จะลดลงตาม
  • ราคาของต้นทุนการผลิต วัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในการผลิต หากมีต้นทุนสูงขึ้น ผู้ผลิตย่อมเห็นกำไรที่น้อยลง และไม่อยากขายตามมา แต่หากต้นทุนเหล่านั้นถูกลง ผู้ผลิตจะมีแนวโน้มเพิ่มการผลิตให้สูงขึ้นแทน
  • เทคโนโลยีในการผลิต มุมมองของผู้ผลิต คาดหวังให้การผลิตใช้ทุนน้อยที่สุด หากมีเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องนี้ ผู้ผลิตก็มีแนวโน้มลงทุน และทำการผลิตมากยิ่งขึ้น
  • คู่แข่งในตลาด หากในตลาดมีบริษัทที่ขายสินค้าชนิดนี้เยอะแล้ว ย่อมทำให้ผู้ผลิตรายใหม่ไม่อยากแข่งขัน โดยอาจจะเลือกผลิตสินค้าชนิดอื่น ที่มีการแข่งขันน้อยแทน
  • สภาพอากาศ มีผลต่ออุปทาน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร สภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้ผู้ผลิต เลี่ยงการปลูกพืชที่ได้รับผลกระทบ แล้วไปผลิตอย่างอื่นแทน

พฤติกรรมการบริโภค และกลไกของ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด

จากกฎของอุปสงค์-อุปทาน ตามที่เราได้กล่าวมา เราได้รู้ว่า ในสภาวะปกติ เมื่อสินค้าราคาแพงขึ้น เราจะซื้อน้อยลง เพราะไม่อยากซื้อของแพง (อุปสงค์จะลดลง) และเมื่อสินค้าราคาถูกลง เราจะซื้อมากขึ้นเพราะของถูก (อุปสงค์จะเพิ่มขึ้น)

กับกฎอีกหนึ่งคือ ในสภาวะปกติ เมื่อรายได้เราเพิ่มขึ้น เราจะซื้อของมากขึ้น (อุปสงค์เพิ่มขึ้น) และเมื่อรายได้เราต่ำลง เราย่อมซื้อของน้อยลง (อุปสงค์ลดลง) ซึ่ง สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ที่มีการสวนทางกับกฎเหล่านี้ เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในหัวข้อถัดไป

ตัวอย่าง กลไกการทำงานของ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด

ตัวอย่างที่ 1 ปกติเมื่อเราเห็นราคาของสินค้าแพงขึ้น เราก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง หรือหากเราเห็นว่าสินค้านั้นถูกลงจากปกติ เราก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นสูงขึ้น แต่ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ไม่สอดคล้องกับกฎนี้ เราจะซื้อสินค้ากิฟเฟนกู๊ดมากขึ้น ทั้งๆที่มันแพงขึ้น หรือซื้อน้อยลงทั้งๆที่มันถูกลง

ตัวอย่างที่ 2 เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น เราจะซื้อสินค้า รวมถึงบริการมากกว่าเดิม เพราะเรามีเงินเยอะ เราย่อมจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นไปอีก แต่เรากลับซื้อสินค้ากิฟเฟนกู๊ด น้อยลงเสียอย่างนั้น ทั้งๆที่เงินเยอะ แต่เลิกซื้อไปเลยก็มี เพราะอะไรกันแน่นะ

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด มีอะไรบ้าง ?

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • อาหารกระป๋อง
  • อาหารฉุกเฉินบางชนิด
  • สินค้าด้อยคุณภาพ

ตัวอย่างราคาขั้นต่ำของ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด

  • มาม่า ราคาตั้งแต่ 6 บาทขึ้นไป
  • ยำยำ ราคาตั้งแต่ 3 บาทขึ้นไป (ยำยำช้างน้อย)
  • ปลากระป๋อง ราคาตั้งแต่ 14 บาทขึ้นไป (ยี่ห้อปุ้มปุ้ย และมงกุฎทะเล)
หมายเหตุ : ราคาค้าปลีกตามท้องตลาด ณ วันที่ 3 เมษายน 2567

เมื่อท่านเห็นรายชื่อสินค้าแล้ว ท่านคงจะเห็นภาพได้ชัดขึ้น ปกติเมื่อเราไม่ค่อยมีเงิน เรามักจะประหยัดด้วยการกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือสินค้าราคาถูก ที่เก็บไว้ได้นานพวกนี้ ต่อให้ราคามันจะแพงขึ้น หรือลดลง ท่านก็จะซื้อมันอยู่ดี เพราะยังไงมันก็ถูกกว่าอาหารทั่วไป

แต่เมื่อท่านมีเงินมากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ท่านจะไม่คิดซื้อสินค้าพวกนี้มากตามเงินที่มี หรือบางคนอาจเลิกซื้อไปเลย แล้วไปซื้ออาหารที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแทน ซึ่งมันสวนทางกับกฎทางเศรษฐศาสตร์ ที่หากมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ควรซื้อเพิ่มขึ้นไม่ใช่เหรอ

สรุป สินค้ากิฟเฟนกู๊ด สินค้าที่ทุกคนคิดถึงยามวิกฤต

สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ถูกให้ความสำคัญในช่วงวิกฤต ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี รายได้น้อย มากกว่าในภาวะปกติ ถือเป็นสินค้าที่แหวกแนว ฉีกกฎ จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์ต้องเอาตัวแปรสินค้าประเภทนี้ ออกจากการคำนวณในสมการอุปสงค์-อุปทาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง