สูตร แบ่งบัญชี ลงทุนให้มีเงินเก็บทั้งปัจจุบัน และอนาคต

สูตร แบ่งบัญชี

สูตร แบ่งบัญชี ให้มีเงินใช้จ่ายตลอดทั้งในยามฉุกเฉินและในอนาคตตอนที่เราอาจหาเงินไม่ได้แล้ว โดยในบทความนี้จะเป็นการพูดถึง การออมเงินสำรอง และการลงทุนที่จะเป็นสัดส่วนแบ่งไว้ให้แล้ว อุปสรรคต่างๆ พร้อมแนะนำการลงทุนในแบบระยะยาว ที่มีสิทธิประโยชน์ด้วย

บัญชีการออม และสัดส่วนใน สูตร แบ่งบัญชี

การออมอีกหนึ่ง เทคนิคการลงทุน ที่จะเป็นเงินที่เก็บไว้ในยามฉุกเฉิน อาจเป็นเงิน 2-3 เท่าของเงินเดือน โดยเมื่อเป็นเงินสำรองจึงอาจต้องเกมไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง อย่างในกระปุกหรือในธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ยด้วย ถึงมันจะน้อยกว่าเงินเฟ้อก็ตาม เพราะเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้จริงก็จะสามารถกดออกมาใช้ได้เลย อาจเป็นกรณีต้องรักษาตัว อุบัติเหตุ หรือตกงานก็จะสามารถใช้เงินส่วนนี้ได้เลย 

โดยเงินส่วนนี้ก็จะแบ่งสัดส่วนเป็น 10% เก็บไว้ทุกเดือน เพื่อวางแผนการเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อกรณีที่ไม่มีรายได้เข้ามา แต่รายจ่ายก็ยังมีเหมือนเดิมได้ 1-2 เดือนพอตั้งตัวใหม่ได้ โดยการออมก็จะมีหลายแบบ และอาจมาสภาพคล่องต่างกันด้วย

การออม และประเภทของบัญชีการออม?

การออมเงินของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปอย่างในบทนี้ก็จะเป็นเงินสำรอง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด หรืออาจจะเป็นเรื่องรองลงมาอย่าง เงินเที่ยว หรือของจำเป็นที่อยากได้ ในเป้าหมายต่างๆ ก็จะมีประเภทของการออมแตกต่างกันได้ด้วย อย่างเช่นของที่อยากได้ก็อาจเหมาะกับฝากประจำ หากทำเงินครบก็จะถอนออกมาซื้อของได้พร้อมดอกเบี้ยที่สูงกว่า

  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ รูปแบบบัญชีเงินฝากที่มีสภาพคล่อง และความยืดหยุ่นสูง ก็คือการฝากที่ไม่มีการกำหนดการฝากถอน ระยะเวลาฝาก หรือถอนได้ไม่จำกัดครั้ง ยังมีทำบัตรเดบิตเพิ่มเพื่อใช้ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ การออมแบบนี้จะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้ว
  • บัญชีเงินฝากประจำ การฝากที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ แต่ก็จะมาพร้อมกับเงื่อนไขว่าต้องฝากเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน หรือมากกว่านั้นก็ได้ โดยดอกเบี้ยก็จะเพิ่มตามระยะเวลาที่ฝาก ซึ่งต้องแน่ใจว่าจะไม่ถอนเงินส่วนนี้ออกมาใช้แน่ จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดไว้
  • บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน รูปแบบของบัญชีเงินฝากที่มีการเข้าออกถี่แบบทุกวัน การออมแบบนี้จะเหมาะกับการทำบัญชีร้านค้าหรือบริษัทซึ่งการเบิกจ่ายเงินได้ผ่านรูปแบบของเช็ค แถมง่ายต่อการสมัครสินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจ เพียงจะมีดอกเบี้ยด้วย

ที่มา: มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! 3 ประเภทบัญชีเงินฝาก ดอกเบี้ยต่างกันอย่างไร [1]

เงินเฟ้อ อุปสรรคสำหรับการออม

เงินเฟ้อ ก็คือการสังเกตเห็นว่าราคาสินค้า และบริการโดยเฉลี่ย มีการปรับเพิ่มขึ้น หรือแพงกว่าเดิม และที่สำคัญขึ้นแล้วไม่มีลงด้วย และยิ่งเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างมาก ซึ่งเงินเฟ้อนี้เองที่จะทำให้ทุกๆ ปีเราจะต้องจ่ายเงิน/ใช้เงินเพิ่มขึ้นทีละนิดๆ การเก็บเงินไว้เฉยๆ จึงอาจลดมูลค่าของมันได้ทีละนิดๆ โดยเงินเฟ้อก็จะเฉลี่ย 3-4% ซึ่งอาจต้องหาการลงทุนที่รักษามูลค่าหรือกำไรได้

สาเหตุของเงินเฟ้อ

  • ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้น คือปัญหาที่เกิดกับฝั่งผู้ผลิตก่อน พอต้นทุนสูงการขายก็จะได้กำไรน้อยลงหรือไม่ได้กำไรอีกต่อไป  อย่างราคาวัตถุดิบที่สูงจากการขาดแคลน หมูป่วย น้ำมันแพงจนทำให้การขนส่งสูงขึ้น พอถึงจุดๆ หนึ่งที่ทนกำไรที่น้อยเกินไปไม่ได้ ผู้ผลิตจึงจำต้องเพิ่มราคาขายสินค้า ทำให้ราคาขายสินค้าแพงขึ้น พอเงินที่ต้องใช้จึงมากขึ้น
  • ความต้องการสินค้าสูงขึ้น เป็นภาวะที่เกิดจากฝั่งผู้บริโภคเอง อย่างความต้องการซื้อสูงขึ้น แต่นี่อาจเป็นการขึ้นของราคาชั่วคราวก็ๆได้แต่จะไม่ลงมาเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิมอีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การผลิตหน้ากากอนามัยแค่ 100 แต่ความต้องการจาก 80-90 กลายมาเป็น 1000 หรือมากกว่านั้น จึงเกิดของขาดแคลน ผลิตไม่ทันจากความต้องการซื้อสูง ราคาหน้ากากอนามัยจึงต้องปรับตัวขึ้นสูงตาม

ที่มา: เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร? เข้าใจสาเหตุพร้อมผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน [2]

สัดส่วนของเงินเดือน ในการลงทุน

หลังจากเห็นปัญหาของเงินเฟ้อไปแล้วก็อาจพอเห็นภาพว่าการออมเงินอย่างเดียวก็อาจไม่ตอบโจทย์มากเท่าที่ควร ในอีกสัดส่วนที่ต้องแบ่งไปลงทุนบ้างก็ควรมาการจัดสรรอย่างดี โดยเราจะให้สัดส่วนจากเงินเดือนมา 40% โดยจะแบ่งระยะการลงทุนออกเป็น 3 ระยะไว้ดังนี้กับการลงทุนที่อาจได้ผลตอบแทนเป็น 5-9% ขึ้นอยู่กับเวลาด้วย และแน่นอนว่ามากกว่าการออมในธนาคาร สู้กับเงินเฟ้อได้สบายๆ 

3 ระยะการลงทุน แบ่งจากสัดส่วนเงินเดือน

เป็นการแบ่งเงินมาในสัดส่วน 40% ของการออมจากเงินเดือนเต็ม เมื่อหักลบกับเงินเก็บแล้วก็จะเป็น 50% ยกตัวอย่างแบ่งมาได้ 8000 และอีกครึ่งก็เป็นเงินใช้ในชีวิตประจำวันดูแลตัวเองให้ไปถึงเงินอนาคตให้นานที่สุด โดยส่วนของการลงทุนก็จะแบ่งไว้ 3 ระยะดังนี้

  • ระยะสั้น 20% (1600 บาท) ก็คือเงินสำรองส่วนที่บอกไปในช่วงต้นของบทความ “เงินสำรองฉุกเฉิน” แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง อย่าง บัญชีออมทรัพย์ หรืออาจเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน 
  • ระยะกลาง 50% (4000 บาท)ไว้ซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น ฝากประจำ, กองทุนรวมหุ้น หรือกองทุนรวมผสม
  • ที่เหลือ 2,400 บาท คือส่วนของระยะยาวคิดเป็น 30% ไว้ใช้ยามเกษียณ ควรเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน RMF, หรือประกันบำนาญ อาจเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบางบริษัทหรือโบรกเกอร์ต่างๆ ก็ได้

ที่มา: สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี? [3]

แนะนำการลงทุน RMF ในระยะยาว

ซึ่งนอกจากที่ทางเหรียญ CBDC กับคริปโตจะมีความแตกต่างกันแล้วในเรื่องของ การรวมอำนาจ แถมยังมีจุดประสงค์ ข้อดี ข้อเสียอื่นๆ ประกอบด้วย โดยก็เป็นข้อได้เปรียญและเสียเปรียบตามแต่ละสถานการณ์

KFGGRMF

คัดเลือกหุ้นรายตัวผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยเฉพาะ โดยรวมหุ้นที่มีพื้นฐานดี และมีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว พร้อมการปรับพอร์ตอัตโนมัติ แบบเรียลไทม์ แถมยังสามารถลดหย่อนภาษีให้ได้ด้วย

  • ประเภทกองทุน: Global Equity
  • ค่าธรรมเนียม: 0% ต่อปี
  • ลงทุนขั้นต่ำ: ครั้งละ 500 บาทขึ้นไป
  • ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา: +24.35%

B-INNOTECHRMF

ลงทุนกับหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก เป็นบริหารแบบ Active จึงเน้นการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และอาจมีโอกาสการเติบโตที่ดีภายใต้ความผันผวน และแน่นอนว่าลดหย่อนภาษีได้ ความเสี่ยงมากกว่ากองทุนแรก 1 ระดับ

  • ประเภทกองทุน: Technology Equity
  • ค่าธรรมเนียม: 0% ต่อปี
  • ลงทุนขั้นต่ำ: ครั้งละ 500 บาทขึ้นไป
  • ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา: +30.31%

ดูรายละเอียดหุ้นตัวอื่นเพิ่มเติมได้ที่ Finnomena

สรุป สูตร แบ่งบัญชี ออมเงินให้มีเงินเก็บ เกษียณสบายใจ

สูตร แบ่งบัญชี

การออมอย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นระบบที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ เพื่อใช้ชีวิตได้แบบหายห่วงทั้งยามฉุกเฉิน และหลักเกษียณไปแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญอีกอย่างเลยก็คือ ความมีวินัยในการออมด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง