เงินที่ไม่เคยพอ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร

เงินที่ไม่เคยพอ

เงินที่ไม่เคยพอ ที่มาทำให้ การใช้จ่ายเงิน การบริโภคสินค้าต่างๆ ด้วยเงิน กลับไม่เคยเพียงพอ และไม่มีที่สิ้นสุด จะไปส่งผลต่อให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโต เนื่องมาจากพฤติกรรม ทางจิตวิทยาของมนุษย์ มาดูรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้ ไปพร้อมกัน

เงินที่ไม่เคยพอ คืออะไร ?

เงินที่ไม่เคยพอ เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทั่วไป ที่มีความต้องการบริโภค สูงขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง การบริโภคนี้หมายถึงการซื้อสินค้า และบริการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ที่อาจจะไปส่งผลให้ ใช้จ่ายเงินอย่างเกินตัว

เงินที่ไม่เคยพอ ในเชิงจิตวิทยา

มนุษย์เรานั้นมีความต้องการในสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อตนเอง เป็นเรื่องปกติทั่วไปอยู่แล้ว ความต้องการที่มากหรือน้อยนี้ จะขึ้นอยู่เฉพาะกับตัวบุคคล สภาพแวดล้อม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นตัวแปรต่อพฤติกรรมการใช้เงินของเรา

บางครั้งเราอาจอยู่ในสภาวะที่มีความต้องการสูง ใช้จ่ายเงินแบบฟุ่มเฟือย มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ แถมยังมีความคิดบางอย่างเช่น เงินหาเมื่อไหร่ก็ได้ เข้ามาในหัว [1] ซึ่งไปส่งผลให้เราไม่เกิดความตระหนัก ในความพอดีของการใช้เงิน

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรา อยากใช้เงินมากขึ้น เพราะการเปรียบเทียบกับผู้อื่น จนเกิดเป็นพฤติกรรมการอิจฉา เราจะรู้สึกเครียด เมื่อเราเห็นว่าเพื่อน หรือคนใกล้ตัว สามารถหาเงินได้มากกว่าเรา [2] เราจึงต้องการซื้อของตามคนอื่น หรือต้องการอวดฐานะ

พฤติกรรมการใช้เงิน ที่ทำให้รู้สึกว่า เงินไม่เคยพอ

เงินที่ไม่เคยพอ

เงินที่ไม่เคยพอ ส่วนใหญ่เกิดจากการซื้อของฟุ่มเฟือย หรือของที่เกินจากความจำเป็น ในชีวิตประจำวันของเรา สินค้าฟุ่มเฟือยเหล่านี้ จัดเป็นสินค้าที่มี หรือไม่มี ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตัวอย่างของสินค้าฟุ่มเฟือยคือ

  1. รถยนต์ Ferrari 488 Pista ราคา 10 ล้านบาท [3]
  2. กระเป๋าหลุยส์ วิตตอง Low Key Hobo MM ราคา 1.4 แสนบาท [4]
  3. เครื่องประดับต่างๆ ราคาตั้งแต่หลัก 100 ไปจนถึงหลักล้าน

จากตัวอย่างที่กล่าวมา รถยนต์สามารถซื้อรุ่นทั่วไป ที่มีราคาถูกกว่า และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกันได้ หรือสามารถขึ้นรถโดยสาร สำหรับเดินทางก็ได้ กระเป๋า ที่สามารถใช้กระเป๋าทั่วไป ที่มีคุณภาพ และราคาถูกกว่า รวมถึงเครื่องประดับ ที่ไม่สวมใส่ ก็สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

สินค้าฟุ่มเฟือยเหล่านี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีฐานะ หรือมีเงินเดือนที่สูง พอที่จะไม่สร้างผลกระทบ ในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากเรามีเงินเดือนที่น้อย การซื้อสินค้าที่มีราคาเกิดตัว อาจกลายเป็นการส่งผลในแง่ลบแทน

เงินที่ไม่เคยพอ กับความรู้สึกของ เงินไม่เท่ากัน

เงินที่ไม่เคยพอ เป็นจิตวิทยาที่ไปสอดคล้องกับ เงินไม่เท่ากัน ในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่าง พฤติกรรมการบริโภค และแนวคิด เงินไม่เท่ากัน ดังต่อไปนี้

  • A เป็นนามสมมุติ ที่มีเงินเดือน 15,000 บาท A นั้นตัดสินใจซื้อโทรศัพท์ในราคา 12,000 บาท เพราะคิดว่า โทรศัพท์นี้ ราคาไม่แพง และเงินที่เหลือ 3,000 บาทนี้ สามารถใช้จ่ายจนถึงสิ้นเดือนได้โดยไม่มีปัญหา
  • B เป็นนามสมมุติ ที่มีเงินเดือน 15,000 บาท เช่นเดียวกันกับ A แต่ B นั้นมองว่าโทรศัพท์ราคา 12,000 บาทแพง และตัดสินใจซื้อโทรศัพท์ในราคา 5,000 แทน

จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่ามุมมองที่ A และ B มีต่อเงินของตัวเองแตกต่างกัน หรือในความเป็นจริง B อาจจะมีภาระทางการเงินที่มากกว่า A จึงทำให้คิดเช่นนั้น แต่การกระทำเหล่านี้ ล้วนแล้วคือ พฤติกรรมการบริโภค ที่แตกต่างไปตามมนุษย์แต่ละคน

เงินที่ไม่เคยพอ กับเศรษฐกิจ

เงินที่ไม่เคยพอ อาจเป็นปัญหา ที่ทำให้ผู้คนประสบปัญหาทางการเงิน แต่ก็มีผลดีอยู่ด้วยเช่นกัน การบริโภคที่สูงขึ้นเหล่านี้ ไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตตาม มีการใช้จ่ายซื้อของ การกู้เงิน เป็นผลทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในภาพรวม