เงินไม่เท่ากัน คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เงินไม่เท่ากัน

เงินไม่เท่ากัน ในแต่ละคน ทั้งๆที่ได้รับเงินเดือนเท่ากัน หรือใช้จ่ายเท่าๆกัน ความแปลกของเงิน ที่เกิดขึ้นเหล่านี้คืออะไรกันแน่ ในบทความนี้เรามีคำอธิบาย แนวความคิดเกี่ยวกับ มูลค่าของเงิน ที่อยากจะแชร์ให้ผู้อ่านได้ทราบกัน

เงินไม่เท่ากัน เกิดขึ้นมาจากปัจจัยใดบ้าง

เงินไม่เท่ากัน

เงิน ไม่เท่ากัน จะก่อกำเนิดขึ้นมาได้จากปัจจัยเหล่านี้

  1. ในแง่ความพึงพอใจ 
  2. ความรู้สึกของมูลค่าตัวเงิน
  3. อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน ที่แตกต่างกัน
  4. ช่วงเวลาในการใช้เงินที่แตกต่างกัน
  5. ดอกเบี้ย ที่เข้ามามีผลกับมูลค่าของการซื้อขาย

ปัจจัยที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์เงินไม่เท่ากัน แล้วเพราะอะไร มีที่มาที่ไปแบบไหน เราจะขยายรายละเอียดให้ได้ทราบกันในหัวข้อถัดไป

เงินไม่เท่ากัน ในแง่ของความพึงพอใจของบุคคล

ปัจจัยข้อแรก อาจจะไปเกี่ยวข้องในเรื่องของ จิตวิทยาเสียมากกว่า ความพึงพอใจนี้หมายถึง ความรู้สึกยินดี พอใจ เมื่อเราถูกตอบสนองบางอย่าง ทั้งในแง่รูปธรรม และนามธรรม [1] ความรู้สึกนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่แต่ละคนคาดหวังอยู่

ถึงแม้เราจะได้รับ จำนวนเงิน ที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกพึงพอใจนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจจะคิดว่าเงินเดือนที่ได้รับนี้มากแล้ว แต่บางคนกลับคิดว่าเงินจำนวนนี้น้อยสำหรับตนเอง ความพึงพอใจ และไม่พึงพอใจที่เกิดขึ้นทางความคิดเหล่านี้ ทำให้มุมมองของการมองเงิน ของแต่ละคน ไม่เท่ากัน

เงินไม่เท่ากัน ในแง่ความรู้สึกของมูลค่าตัวเงิน

เรามักจะนำตัวเลขนี้ ไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น แบบคร่าวๆโดยอัตโนมัติ เมื่อเราได้รับเงินเดือน หรือเห็นเงินที่เหลืออยู่ในบัญชี เรามักมีแผนในการใช้เงินตรงนี้ เอาไปเปรียบเทียบกับเงินของผู้อื่น หรือเปรียบเทียบกับราคาสินค้าในท้องตลาด

ตัวอย่างเช่น เราอาจจะนำเงินเดือนของตนเอง ไปเปรียบเทียบกับเงินของเพื่อน ถ้าเงินเราน้อยกว่า เราก็จะมีความรู้สึกว่าเงินเราน้อยทันที ทั้งๆที่ตัวเงินเดือนที่เราได้รับ อาจจะถือว่าสูงมากสำหรับมุมมองของผู้อื่น ดังนั้น ความรู้สึกของการมองเงิน ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้แต่ละคน คิดว่าเงินนั้นไม่เท่ากัน

เวลาที่เข้ามามีบทบาททำให้ เงินไม่เท่ากัน

เงินไม่เท่ากัน

2 ข้อที่เรากล่าวไปข้างต้น จะเป็นมุมมองในแง่ความพึงพอใจ และความรู้สึก ที่เกิดจากความคาดหวังของแต่ละคน และความรู้สึกที่คิดไปเองของแต่ละคน แต่ในหัวข้อถัดไปนี้ จะเป็นปัจจัยที่มีตัวแปรของ เวลา เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง

เงินไม่เท่ากัน จากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินที่แตกต่างกัน

การใช้จ่ายเงินที่เกี่ยวข้องกับ การแลกเปลี่ยนเงิน ส่งผลให้มูลค่าเงินเปลี่ยนแปลงไป จากราคาเงินตัวหนึ่งเทียบกับเงินอีกตัวหนึ่ง [2] โดยมีเรื่องของเวลา ที่เข้ามาทำให้อัตราการแลกเปลี่ยน ขยับขึ้นลงได้เสมอ โดยเราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นดังนี้

A และ B ได้รับเงินเดือนเท่ากัน A ชอบซื้อสินค้าจากประเทศเกาหลีใต้ ส่วน B นั้นชอบซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น ในช่วงวิกฤต ปัญหาเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ทำให้เงินไทยแลกเป็นเงินเยนได้สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยน 1 เยน = 0.242 บาท (ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเยน-บาท ณ วันที่ 5 เมษายน 2567)

ต่อมา B จึงสามารถซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นได้มากขึ้น เพราะสินค้าจากญี่ปุ่นถูกลง ทั้งๆที่สินค้าของ A และ B อาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่จากอัตราแลกเปลี่ยนนี้ ทำให้เงินของทั้งสองคน ไม่เท่ากันเสียแล้ว

เงินไม่เท่ากัน จากช่วงเวลาในการใช้เงินที่แตกต่างกัน

เวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลทำให้ราคาของสินค้าเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า เงินเฟ้อ โดยเจ้าเงินเฟ้อนี้ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี จะเพิ่มมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

หากเราซื้อสินค้าในปัจจุบัน เราอาจจะซื้อของได้ถูกกว่าในอนาคต เพราะในอนาคตมีแนวโน้มที่ราคาสินค้า จะสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ หมายความว่า ต่อให้ได้รับเงินเท่ากัน แต่หากซื้อของชนิดเดียวกัน ในเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้เกิดเหตุการณ์เงินไม่เท่ากัน เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

เงินไม่เท่ากัน จากดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย คือ จำนวนเงินส่วนหนึ่งที่ผู้ให้กู้ เรียกเก็บจากผู้กู้เงิน [3] ในการผ่อนชำระสินค้า หรือการยืมเงิน ย่อมทำให้เกิดดอกเบี้ยขึ้นมา ดอกเบี้ยนี้แปรผันตรงไปตามระยะเวลาที่ผ่อนชำระ ยิ่งใช้เวลาผ่อนนาน ก็จะยิ่งมีดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้เสียเงินมากขึ้นตาม

ถึงแม้คน 2 คน จะซื้อบ้านที่เหมือนกันเป๊ะทุกประการ ทั้งรูปลักษณ์ ทั้งราคา แต่หากมีระยะเวลาผ่อนชำระที่ต่างกัน ก็ทำให้เงินที่ใช้ซื้อบ้านของทั้ง 2 ไม่เท่ากัน นั้นจึงเป็นที่มาของ เงินไม่เท่ากัน จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตามระยะเวลา

สรุป ความไม่เท่าเทียมใน เงินไม่เท่ากัน

ถึงตัวเลขเงินที่เราได้รับ นั้นเท่ากัน แต่พฤติกรรมการใช้เงิน เวลาที่ใช้ รวมถึงทัศนคติ มุมมอง ของแต่ละคน กลับไปส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เงินไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนการเงิน บริการ จัดการที่มีประสิทธิภาพ ต่างกันไปตามแต่ละคน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง