เหรียญกลุ่ม GameFi คำที่มาจากการผสมผสานกันระหว่างคำว่า Game และ Finance หรือการเงินในแบบ Defi ที่เป็นการธุรกรรมแบบกระจายอำนาจ ไม่พึ่งพาตัวกลาง มันจึงทำให้เกมประเภทนี้มีกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถฟาร์มโทเคนไปขาย หรือมีการซื้อขายสินทรัพย์อย่าง NFT กันอย่างแพร่หลายโดยไม่มีค่าธรรมเนียมสูง และกินเวลานานเลย
ดังที่กล่าวไปว่าสิ่งนี้ คือสองสิ่งจากโลกการเงินแบบใหม่ และสิ่งบันเทิงอย่างเกม มาอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว ซึ่งยังคงเป็นเรื่องใหม่ของคริปโต และมาแรงอย่างมากในช่วงปี 2021 ที่มีโปรเจกต์เกมอยู่มากมาย ทั้งที่มีหลงเหลืออยู่ในตอนนี้ และมีทั้งที่ล่มสบายไป หรือพวก Scam ทั้งหลายก็มีไม่น้อย ก็มีทั้งคนที่สร้างกำไรได้ และเสียเงินจำนวนมากจากโปรเจกต์แชร์ลูกโซ่ และโปรเจกต์น้ำดีทั้งหลาย
โดยในโลกแห่งเกมยุคเก่าที่อาจต้อง จ่ายเงินเพื่อซื้อไอเท็มหรือตัวละครต่างๆ เพื่อให้เก่งขึ้น และมีโอกาสชนะมากขึ้นในเกมซึ่งเรียกว่า Pay-to-win ซึ่งในโลกแห่งเกมแบบ GameFi นี้เรียกว่าเกมแบบ Play-to-earn ที่เป็นการเล่นเกมต่างๆ จากการซึ่งตัวละครไปผ่านด่านต่างๆ หรือการหว่านเมล็ดพันธุ์ เพื่อรอมันโต และสร้างรายได้เข้ากระเป๋าเราได้ ทั้งจากระบบและการขายตัวละครที่เราปั้นมา [1]
โดยในช่วงปี 2020 – 2021 ที่กระแสนี้กำลัง Hype เป็นอย่างมาก ซึ่งก็มีโปรเจกต์เกมนับ 100 เกมเกิดขึ้นมาในโลกออนไลน์ ทั้งเหรียญใหม่ๆ และแพลตฟอร์มจากประเทศไทยเองด้วย ซึ่งก็จะเป็นเกมที่มีการเล่นง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน อย่างการซื้อตัวมาอัปเกรด และไปเล่นผ่านด่านไปเรื่อยๆ หรือเกมปลูกผักและรอเก็บเกี่ยวไปขายและได้โทเคนมาแลกเป็นเหรียญอื่นๆ ในระบบได้ รวมถึงการหากล่องต่างๆ ไปขายได้ ซึ่งโปรเจกต์ต่างๆ ที่เป็นโปรเจกต์น้ำดี และยังพัฒนาอยู่ก็มีดังนี้
ที่มา: รู้จัก 5 เกมบล็อกเชน เพื่อเข้าใจ GameFi มากขึ้น [2]
เหรียญกลุ่ม GameFi จากที่ระบุมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าถึงแม้โลกของ GameFi จะมีทั้งโลกที่กว้างใหญ่ เกมน่ารักน่าเล่น พร้อมการมีโอกาสสร้างรายได้ให้กับผู้เล่นเอง แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงข้อจำกัดและความเสี่ยงไม่ต่างจากการลงทุนคริปโตรูปแบบอื่นๆ เลย โดยก่อนจะเริ่มเล่น ก็จะมีอยู่หลายสิ่งที่ผู้เล่นต้องมี เตรียมไว้หลายอย่าง ซึ่งก็ต้องมีดังต่อไปนี้
ที่มา: GameFi คืออะไร เล่นอย่างไรถึงได้เงิน? I CRYPTO DAY [1]
ในกระบวนการทำงานของ เหรียญเหล่านี้ ที่มันสามารถทำเงินให้กับเราได้ นั่นก็คือการเอาสินทรัพย์ที่เราแลกมาไป ฝากไว้ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่นเกม ยกตัวอย่างการเอาตัวละครที่เราซื้อมา (ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง) เอาไปลงดันซึ่งก็จะมีเวลาเป็น 1-3 วัน ซึ่งระบบก็จะใช้โทเคนนั้นๆ ที่ผู้เล่นแลกมาไปทำกิจกรรมต่างๆ ในโลก DeFi ซึ่งเรียกว่า yield farming เพื่อให้รับผลตอบแทนจากการฝากเป็นโทเคนในเกม
โดยรางวัลที่ได้รับจากการเล่นเกมที่เป็นทั้งโทเค็นเพิ่มเติม และไอเทมต่างๆ ในเกม รวมไปถึง ที่ดินเสมือนจริง อาวุธ และเครื่องแต่งกายซึ่งก็สามารถนำไปแลกเปลี่ยนได้ในตลาดของแพลตฟอร์มนั้นๆ ซึ่งจะจัดอยู่ในสินทรัพย์แบบ NFT แต่การรับเป็นรางวัล ในบางเกมของตกแต่งต่างๆ ก็ไม่สามารถใช้งานหรือแปลงเป็นสินทรัพย์แบบ NFT ได้ ซึ่งอาจเป็นเพียงไอเทมเพื่อการตกแต่งเท่านั้น [3]