เหรียญ นีโอ (Neo) โทเคนที่สร้างขึ้นมาจากประเทศมหาอำนาจที่ต่อต้านการกระจายอำนาจ และไม่ปลื้มบิตคอยน์ โดยเหรียญนี้เป็น เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ ที่เรียกตัวเองว่าคู่แข่งของ Ethereum โดยเป็นเชนที่เปิดให้มีการเข้ามาสร้างแอปพลิเคชั่นการเงินแบบกระจายศูนย์ ได้อย่างอิสระ หรือแบบ open-source ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเขียน smart contract โดยเฉพาะ
นีโอเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว โดยเกิดขึ้นมาจากการก่อตั้งบริษัท AntShares ในประเทศจีน ที่ร่วมกันพัฒนาและบริหารร่วมกันของ Da Hongfei และ Erik Zhang ก่อนที่จะเปิดใช้งานแบบ mainnet เป็นครั้งแรกในปี 2016 จากนั้นในปี 2017 เชนหลักนี้ก็มีการเพิ่มฟีเจอร์ smart contract เข้าไป และเปลี่ยนชื่อจาก AntShares เป็น NEO ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยในโร้ดแมพของเครือข่ายนี้ในปัจจุบันบล็อกเชนของนีโอ ก็ดำเนินมาถึงเวอร์ชัน 3 หรือที่เรียกว่า N3 การอัปเกรดการทำงานที่มีความก้าวหน้า และผนวกกับเทคโนโลยีอื่นๆ มากที่สุดแล้ว และในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2021 การพัฒนาของเครือข่ายนีโอก็อยู่ภายใต้การดูแลของ Neo Foundation โดยตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ [1]
โดยทางนีโอเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจของอนาคตจะแตกต่างไปจากเดิมในปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ซึ่งทุกอย่างจะสามารถทำงานบนบล็อกเชน ซึ่งทุกธุรกรรมจะถูกบังคับใช้ Smart Contract มันจึงการโกงที่น้อยโปร่งใส และตรวจสอบได้ ทุกอย่างเป็นไปอย่างอัตโนมัติเมื่อเงื่อนไขของทางสองฝ่ายครบ ไม่ต้องเปลืองกระดาษทำสัญญา ไม่ต้องมีศาลมา หรือต้องจ้างทนายเมื่อเกิดข้อพิพาท ซึ่งก็มีระบบต่างๆ เข้ามาช่วยมากมาย
กลไกการทำงาน หรือระบบฉันทามติของนีโอมีชื่อว่า Delegated Byzantine Fault Tolerance โดยถูกอัปเกรดเป็นเวอร์ชัน 2.0 แล้วในปัจจุบัน ซึ่งถูกออกแบบมาให้ผู้ตรวจสอบภายในบล็อกเชน ก่อนทำการตรวจสอบจะต้องยอมรับธุรกรรมอย่างน้อย 2/3 ของจำนวนผู้ตรวจสอบทั้งหมดด้วย ธุรกรรมดังกล่าวก็จะถูกเขียนลงบนบล็อกใหม่ของแต่ละบล็อก
ที่มา: Neo: บล็อกเชนแดนมังกร [1]
ในส่วนของราคาเหรียญนี้ก็มีราคาที่ไม่ได้สูง และต่ำมาก โดยราคาในวันที่เขียนบทความนี้ หรือวันที่ 9 สิงหาคม 2024 ราคาของมันก็อยู่ที่ 9.56 ดอลลาร์หรือราวๆ 337.16 บาท อ้างอิงจากเว็บรายงานราคา และลำดับ coinmarketcap ซึ่งเหรียญนี้ก็เคยพุ่งขึ้นมาที่อันดับ 12 ในช่วงปลายปี 2021 ก่อนจะร่วงลงไปที่อันดับ 80 กว่าๆ
เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap
กระบวนการทำงานของนีโอ อย่างที่บอกไปว่าจะมีความแตกต่างจาก Bitcoin ที่ใช้ระบบฉันทามติที่เรียกว่า Proof-of-work และต่างจาก Ethereum ที่เปลี่ยนมาเป็นแบบ Proof-of-stake ซึ่งในวิธีการ Proof หรือตรวจสอบความถูกต้องของเชนนีโอ จะเรียกว่า Delegated Byzantine Fault Tolerant (dBFT) ซึ่งทางผู้พัฒนาเขายืนยันว่า รวดเร็ว และ ปลอดภัย และมีการแบ่ง Node ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้