เหรียญ อาร์บิทรัม โทเคนเลเยอร์ 2 ที่เป็นดั่งผู้ช่วยของอีเธอเรียม

เหรียญ อาร์บิทรัม

เหรียญ อาร์บิทรัม (Arbitrum) โทเคน Layer 2 ที่เป็น เหรียญ ส่งต่อมูลค่า จากเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาบนเครือข่ายของ Ethereum อันเป็นเชนหลักที่นักพัฒนา DApp ส่วนใหญ่จะนึกถึงเป็นเชนแรกๆ มันจึงมีความแออัดในเรื่องของธุรกรรม ซึ่งเหรียญนี้ก็เป็นตัวที่มาช่วยปรับขนาดให้ธุรกรรมใน Flow มากขึ้นได้ จากประวัติ และความน่าสนใจดังนี้

ประวัติ Arbitrum สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านการปรับขนาด

ในประวัติความเป็นมาของเครือข่าย และโทเคนนี้ สร้างขึ้นจากนักวิศวกรคอมพิวเตอร์ และผู้ประกอบการอย่าง Ed Felten, Harry Kalodner กับ Steven Goldfeder โดยสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2018 จากบริษัทวิจัย และพัฒนาบล็อกเชนอย่าง Offchain Labs พร้อมเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ในเวอร์ชั่น Arbitrum One เวอร์ชัน mainnet beta สำหรับนักพัฒนาแอปต่างๆ

โดยทีมพัฒนาเชนนี้อย่าง Ed Felten เขายังเคยดำรงตำแหน่งรอง CTO ของทำเนียบขาวในรัฐบาลโอบามา ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งได้ร่วมมือกับนักศึกษาปริญญาเอกสองคนคือ Kalodner และ Goldfeder วางรากฐานของ Offchain Labs นั่นเอง  และหลังเปิดตัว ก็มีแอปพลิเคชัน Defi มากกว่า 300 รายการเข้ามาใช้งาน ส่งผลให้ปัจจุบันมูลค่าของเหรียญที่ก็อยู่ที่อันดับ 43 ของโลก [1]

การทำงานของ เหรียญ อาร์บิทรัม และหน้าที่ของโทเคน

ในการทำงานของโทเคนเลเยอร์ 2 สำหรับบล็อกเชน Ethereum ก็เป็นเชนที่มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มความสามารถของการปรับขนาดการทำธุรกรรมของ Ethereum เพื่อเอาชนะข้อจำกัดของเครือข่ายอย่างความแออัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพของ Ethereum โดยรวมสูงขึ้น ซึ่งก็มี ARB เป็นโทเคนประจำเชน และมีหน้าที่หลายอย่างด้วยกันภายในระบบนิเวศดังต่อไปนี้

  1. ใช้ในการกำกับดูแล: หรือการเป็นเหรียญ Governance คือผู้ถือโทเคนดังกล่าวมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมกำกับดูแล หรือกำหนดทิศทางเกี่ยวกับพัฒนาเครือข่าย จากการเสนอ และร่วมโหวตลงมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอล อย่างการปรับค่าธรรมเนียม การเลือกผู้ตรวจสอบ และการอัปเกรดระบบ
  2. ทำหน้าที่เป็นค่าธรรมเนียม: ในการทำธุรกรรมในเครือข่ายนี้ก็จะมีค่าแก๊สในการจ่ายเป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งก็จะใช้เป็นเหรียญ ARB เพื่อชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่างๆ หมายความว่าผู้ใช้ต้องมีเหรียญนี้ ไว้ในกระเป๋าเงินเพื่อใช้งาน dApps นั่นเอง
  3. วางค้ำประกัน (Staking): ผู้ใช้งานเหรียญดังกล่าวยังสามารถนำโทเคนนี้ ไปวางค้ำประกันในระบบได้ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการเป็นผู้ตรวจสอบในเครือข่าย ซึ่งจะทำหน้าที่ประมวลผลธุรกรรม ซึ่งหากทำตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้องก็จะได้รับรางวัลเป็นโทเคนดังกล่าวนี้ด้วย
  4. ตัวกลางในการเป็นสภาพคล่อง: โทเคนนี้สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และซื้อขายคริปโตสกุลต่างๆ ได้ ผ่านแอปพลิเคชันบนเครือข่าย จึงเป็นดังเหรียญ ส่งต่อมูลค่าให้กลับเชนอื่นๆ ได้

ที่มา: Arbitrum (ARB) คืออะไร รู้จักผู้ช่วยสุดปังของ Ethereum [2]

คุณสมบัติของ อาร์บิทรัม ที่มือใหม่ต้องรู้

อาร์บิทรัมคือแพลตฟอร์มคริปโตที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการเป็นเหรียญส่งต่อมูลค่า และใช้เปิดสัญญาอัจฉริยะที่เข้ากันได้กับ Ethereum ซึ่งเป็นเชนที่จะมาช่วยในเรื่องประสิทธิภาพการปรับขนาดได้สูง รองรับธุรกรรมได้มาก พร้อมคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งก็มีดังต่อไปนี้

  • เครือข่ายนี้เข้ากันได้อย่างดีกับ  EVM แบบเดียวกับ เหรียญ แมนเทิ่ล ในระดับไบต์โค้ด ซึ่งนี่จึงช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้ภาษาที่มีอยู่อย่างภาษา Solidity และ Vyper ได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรมากมาย มันจึงช่วยปรับปรุงกระบวนการพัฒนาบน เชนนี้และอีเธอเรียมได้อย่างดีเยี่ยม
  • อาร์บิทรัมมีเป้าหมายเพื่อลดอุปสรรคให้กับนักพัฒนา โดยจัดเตรียมตัวเลือกต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้งที่มีอยู่ในเชนนี้ และเชนอีเธอเรียม ให้นักพัฒนาสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่คุ้นเคยได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้ปลั๊กอินหรือคอมไพเลอร์ที่เฉพาะเจาะจงในระบบ
  • อาร์บิทรัมเป็นโซลูชันการปรับขนาดเลเยอร์ 2 ที่สามารถลดค่าธรรมเนียมที่ใช้ในการทำธุรกรรมลงอย่างมากจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Rollup และการรองรับธุรกรรมได้อย่างสูง
  • ระบบนิเวศที่มีการพัฒนาอย่างดีจากการสร้างความร่วมมือกับ DApps และโครงการต่างๆ ซึ่งก็มีพันธมิตรที่โดดเด่นอย่าง Uniswap, DODO, Sushi และอื่นๆ

ที่มา: Mantle (MNT) คืออะไร? ระบบเครือข่ายบล็อกเชนแบบใหม่ที่ผสมผสานสุดยอดเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน [1]

ราคา ARB เหรียญอันดับ 43 ที่มาแรงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ในด้านของราคาโทเคนนี้ก็ไม่ได้มีความโดดเด่นมากนัก และมีมูลค่าที่ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ โดยเคย Moon ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งมี All Time High สูงสุดอยู่ที่ 2.39 ดอลลาร์ โดยราคาในปัจจุบันวันที่ 20 สิงหาคม 2024 ก็มีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 0.5474 ดอลลาร์ หรือราวๆ 18.81 บาท พร้อมรายละเอียดต่างๆ ด้านมูลค่าดังนี้

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 1.83 พ