เหรียญ ฮีเลียม (Helium) โทเคนที่ถูกขนานนามว่า เครือข่ายประชาชน ซึ่งเป็นการพัฒนาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไร้สาย และ IoT เข้าด้วยกันอย่างเป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งจะเป็นเชนที่จะมาเปลี่ยนการท่องโลกอินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจ พร้อมยังสามารถทำเงินได้จากการขุดเหรียญนี้ด้วย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้บริการอุปกรณ์ iot ทั่วโลกผ่านสัญญาณวิทยุ LongFi ราวกับเมฆ แต่เบาบางกว่าดั่งก๊าซฮีเลียม
โปรเจกต์นี้เริ่มพัฒนาเมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2013 โดยปัจจุบันมีเสาหลักบริหารอยู่ 3 บุคคลหลักๆ อย่าง Shawn Fanning, Sean Carey และ Amir Haleem โดยมี HNT เป็นสกุลเงินดิจิตอลประจำเชนของฮีเลียม ซึ่งมีอุปทานสูงสุดที่ 223 ล้านโทเคนเท่านั้น ปัจจุบันขุดไปแล้วกว่าครึ่งคือ 160 กว่าล้านโทเคน ซึ่งรายละเอียดของผู้บริหารแต่ละคนในปัจจุบันก็มีดังนี้
ที่มา: เหรียญ Helium (HNT) คืออะไร? [1]
mainnet ของฮีเลียมถูกออกแบบมาเพื่อ ช่วยให้อุปกรณ์ไร้สายที่ใช้พลังงานต่ำ มีความสามารถในการส่งข้อมูลหากันได้ผ่านเครือข่ายโหนดต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีหลักก็คือ Hotspots ที่แทนโหนดต่างๆ ในระบบ ซึ่งเป็นการบริการอุปกรณ์ iot ทั่วโลกผ่านสัญญาณวิทยุที่เรียกว่า LongFi หรือ Lora สำหรับประเทศไทยจะกำหนดให้อยู่ในช่วงความถี่ 920-925 MHz
ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวนี้ ในส่วนของระบบฉันทามติก็ยังทำงานบนระบบที่ค่อนข้างใหม่ และไม่เหมือนเชนอื่นๆ อย่าง proof-of-coverage เป็นอัลกอริทึมที่ใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า HoneyBadger BFT ซึ่งช่วยให้โหนดในเครือข่ายสามารถเข้าถึงฉันทามติจากการเชื่อมต่อที่มีความผันแปรสูง แถมยังใช้พลังงานน้อยมากจากการขุดแบบ PoW แบบบิตคอยน์ [1]
โดยอุปกรณ์ที่สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายนี้ ก็คืออุปกรณ์ที่ทำงานบนสัญญาณ lora ได้ทุกชนิด ซึ่งปัจจุบันก็มีจำนวนนับหลายล้านตัวบนโลก ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นเดิมทีจะใช้ผ่านสัญญาณ TTN หรือพวก Chirpstack รวมถึงการใช้งาน Private Server ซึ่งในการข้ามมาใช้ฮีเลียมก็สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ปรับแก้ตั้งค่า EUI ก็สามารถย้ายมาใช้ ฮีเลียมเชนได้แล้ว
ที่มา: Helium Blockchain คืออะไร? ทำไมมาถึงเขย่าวงการ IoT และการสื่อสารได้ [2]
ในเรื่องของราคาเหรียญนี้ ปัจจุบันก็มีราคาที่คงที่อยู่ราวๆ 6-8 ดอลลาร์ ซึ่งในวันที่เขียนบทความ หรือวันที่ 19 สิงหาคมก็มีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 7.42 ดอลลาร์ หรือราว 256.13 บาท อ้างอิงจากเว็บไซต์จัดอันดับ และ Track มูลค่าคริปโต coinmarketcap ซึ่งจุด Peak ของเหรียญนี้ก็เคยพุ่งไปสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 48.80 USD เลย สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ของโทเคนฮีเลียมก็มีดังนี้
เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap
โดยก่อนที่จะมีการถือกำเนิดของฮีเลียม ในการขุดแบบเก่าของสกุลเงินดิจิตอลส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเครื่องมือการขุดที่มีราคาแพง และยังมีการใช้พลังไฟฟ้าที่สูงด้วย ดังนั้นการเปิดตัวเครือข่ายฮีเลียมนี้ จึงได้ปฏิวัติกระบวนการขุดแบบเก่าๆ นี้ ให้สามารถขุดโทเค็น HNT ได้ง่ายๆ ผ่านอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้ระบบของฮอตสปอตแบบไร้สาย จากการใช้งานระบบ Proof-of-Coverage เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของฮอตสปอต และการติดตามข้อมูล