โดโลไมต์ หินมากประโยชน์ ที่ควรค่าแก่การศึกษา

โดโลไมต์ (Dolomite)

โดโลไมต์ หินตะกอน หรือแร่อุตสาหกรรม ที่มีประโยชน์ สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบของปุ๋ย หิน และปูนซีเมนต์ รวมถึงเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญ ในการฟื้นฟูธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่ในสภาพดังเดิม

โดโลไมต์ (Dolomite) คืออะไร

โดโลไมต์ (Dolomite) [1] คือ หินตะกอนชนิดหนึ่ง หรือแร่อุตสาหกรรม ที่มีส่วนประกอบหลักๆ คือ แคลเซียมแมกนีเซียม คาร์บอเนต มีความเหลี่ยม ใส และขุ่นมัว พื้นผิวขรุขระ มีลักษณะหยาบ คล้ายผิวหนังของช้าง มีรอยแตกเป็นก้อนผลึก 4 เหลี่ยม และ 6 เหลี่ยม เกาะกันแน่น

มองภายนอกด้วยตาเปล่า จะมีความแข็ง เนื้อมีทั้งโปร่ง และโปร่งใส มีความแวววาว หลากสี ทั้งขาว เทา น้ำตาลหม่น เขียวแก่ ไม่มีสี หรือสีดำ และสีที่สามารถมักได้บ่อยสุด จะเป็นสีเนื้อชมพูออกขุ่นๆ

โดโลไมต์ สามารถพบได้จากที่ไหน

แหล่งที่สามารถพบแร่ชนิดนี้ จะสามารถพบได้ที่บริเวณแหล่งหินปูน และพบได้บ่อยสุดที่ อ.ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เขาถ้ำ วังกะด้ง และอำเภอเมือง และอื่นๆ [2] ได้แก่

  • ภาคเหนือ : น่าน เพชรบูรณ์
  • ภาคใต้ : แพร่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ พังงา กระบี่ ตรัง
  • ภาคตะวันออก : จันทบุรี ชลบุรี

ในต่างประเทศ : แหล่งที่สามารถพบหิน หรือแร่ชนิดนี้ ได้บ่อยและมาก จะอยู่ในโซนแถบยุโรป โดยเฉพาะที่ Binnenthal ประเทศ Switzerland และ United States of America

แร่โดโลไมต์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

โดโลไมต์ (Dolomite)
  • ใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว กระจก เหล็ก และเซรามิก
  • ใช้เป็นหินแข็ง สำหรับการก่อสร้าง บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
  • ใช้ทำซีเมนต์ (Cement) หรือปูนซีเมนต์ในบางชนิด หรือเป็นส่วนผสมหลักของคอนกรีต
  • ใช้สำหรับทำแมกนีเซียม (Magnesium) (วัสดุกันไฟ ทนความร้อน สำหรับเตาถลุงเหล็ก)
  • ใช้ในภาคเกษตรกรรม ปรับสมดุลในดิน ความเป็นกรด-ด่าง พร้อมกับเพิ่มแร่ธาตุที่ดีในดิน
  • ใช้สำหรับทำปุ๋ย ปลูกอ้อย ทุเรียน และอื่นๆ
  • ใช้ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม หลักๆ คือ น้ำ
  • ใช้ในการทำเครื่องประดับ หรือหินประดับ
  • ใช้สำหรับเป็นสินแร่ของประเทศไทย

สรุป โดโลไมต์ (Dolomite)

โดโลไมต์ (Dolomite) คือ หินตะกอน หรือแร่อุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่ามาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม การเกษตร หรือทำเป็นหินเครื่องประดับ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง