OEM หมายถึงอะไร ไขข้อสงสัยพร้อมชี้แนะข้อดี-ข้อเสีย

OEM

OEM ชื่อเสียงที่มีมายาวนาน กับกล่าวขานทางด้านธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งความสนใจ ที่ผู้ทำแบรนด์ทั้งมือใหม่ และมืออาชีพต่างก็ต้องศึกษา เพื่อนำไปต่อยอด ในการทำสินค้า ของตัวเองให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งความโดดเด่น ของธุรกิจรูปแบบนี้ จะเป็นอย่างไร มีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไร เราได้ทำการรวบรวมมาดังนี้

OEM คืออะไรกันนะ

OEM

OEM มีชื่อว่าเต็มว่า Original Equipment Manufacturer ซึ่งก็คือผู้ที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับเจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะมีบริการตั้งแต่การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ โลโก้ ฉลากสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ มีการทดลอง และทดสอบประสิทธิภาพ รวมถึงการทำตลาดสินค้า

ด้วยความได้เปรียบในการรับโจทย์  ที่มีความหลากหลาย จึงทำให้เกิดการตีตลาดสินค้า ที่แปลกใหม่ด้วย นำมาซึ่งประสบการณ์ ที่จะสามารถรู้ได้ว่า รูปแบบไหนดีหรือไม่ดี มีมาตรฐานเป็นของตัวเอง แต่ในทุกการจัดการอะไรก็ตาม เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ดังนี้

รวมข้อดี และ ข้อเสีย ของระบบ OEM

ข้อดี

  • ต้นทุนในการจ้างงานน้อย สามารถนำไปตีเป็นแบนด์ของตัวเอง และสามารถวางขายได้ ในช่วงเวลาที่รวดเร็ว
  • ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ทางการตลาดได้ง่าย หลากหลายและรวดเร็ว กว่ารูปแบบอื่น
  • ความเสี่ยงในเงินทุนน้อยลง เพราะไม่ต้องสร้างโรงงานเอง ไม่ต้องลงทุนผลิตสินค้าเอง
  • ได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งคอยให้คำปรึกษา แนะแนวทาง และพัฒนาทดสอบประสิทธิภาพ

ข้อเสีย

  • มาตรฐานของสินค้า จะขึ้นอยู่ทางโรงงาน ซึ่งแน่นอนว่าเราจะไม่สามารถ ควบคุมในเรื่องมาตรฐาน ของสินค้าตามต้องการได้
  • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะเป็นรูปแบบสำเร็จ ไม่ค่อยมีความต่าง จากท้องตลาดเท่าที่ควร
  • สามารถลอกเลียนแบบสินค้าได้ง่าย
  • ค่อนข้างใช้เวลา เพราะต้องคิดค้นทดลอง และทดสอบสินค้า

สินค้าที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจประเภท OEM

  • เครื่องสำอาง ได้แก่ กันแดด สกินแคร์ ลิปสติก เพราะเป็นสินค้า ที่ได้รับความนิยม จากทุกเพศทุกวัย มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย
  • อาหารเสริม การดูแลสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่คนรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจกันมากขึ้น หลังจากเกิดการแพร่ระบาด ร้ายแรงของโควิด
  • อาหารและเครื่องดื่ม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิต จึงต้องเน้นไปที่สารอาหาร ที่มีประโยชน์กับร่างกาย มีฉลากที่ใส่ข้อมูลวัตถุดิบอย่างครบถ้วน
  • ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด นอกจากเรื่องของการกินความงาม ส่วนของความสะอาด ก็มาแรงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาซักผ้า น้ำยาถูพื้น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ

ที่มา : 8 เทรนด์สินค้ามาแรง [1]

สรุปธุรกิจ OEM

เป็นอีกหนึ่งช่องทางธุรกิจ ที่สามารถทำให้เราเติบโตได้ ในเวลาเพียงไม่นาน อย่างไรก็ดี หากท่านเป็นมือใหม่ ในการทำแบรนด์ ท่านควรศึกษารายละเอียด และไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ ตามความต้องการของท่าน มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสูญเสียต้นทุน ไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็อย่างว่าละนะ ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ถ้าเราไม่เสี่ยง เราก็ไม่โตนะท่านว่าไหม

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง