กองทุนวัยเกษียณ RMF คืออะไร ไม่ใช่ผู้สูงวัยร่วมกองทุนได้ไหม

MRF

หนึ่งในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ซึ่งเป็นกองทุน ที่ถูกตั้งคำถามมากมาย ว่ากองทุน RMF หรือ Retirement Mutual Fund เหมาะสำหรับกลุ่มคนใกล้เกษียณจริงหรือไม่ และหากไม่ใช่ผู้สูงวัย จะสามารถลงทุนกับกองทุนนี้ได้หรือไม่ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ สำหรับทุกคำถาม ที่เกี่ยวกับกองทุนระยะยาวนี้

ทำความรู้จัก RMF กองทุนเพื่อการออมเงินระยะยาว คืออะไร ?

RMF หรือ Retirement Mutual Fund คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการออมเงิน สำหรับวัยเกษียณของคนไทย เป็นการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่าการลงทุนระยะยาว ใกล้เคียงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) [1]

ซึ่งนโยบายการลงทุนแบบนี้ มีความเปิดกว้างในการลงทุน คือ การที่สามารถลงทุน ในสินทรัพย์หลายประเภท ไม่ใช่แค่หุ้นอย่างเดียว ผ่าน แอปเทรดหุ้น ก็ได้เช่นกัน อาทิเช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตลาดเงิน, ตราสารหนี้เอกชน, หุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และทองคำ เป็นต้น แต่ก็ยังเป็นกองทุนที่ มีความเสี่ยง ตั้งแต่ระดับต่ำ-กลาง-สูง 

กลุ่มประชาชนหรือกลุ่มทำงานไหนบ้าง ที่ควรซื้อกองทุน RMF ?

หากวิเคราะห์จากจุดประสงค์ของ กองทุน RMF ซึ่งเป็นกองทุนที่จะสนับสนุนการออมเงินในระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับด้านการเงิน ของผู้สูงวัยหลังการเกษียณอายุงาน และการลงทุนกองทุนออมเงินตัวนี้ สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ดังนั้นถึงผู้ลงทุนจะเป็น ประชาชนของกลุ่มไหน หรือทำงานแบบใดก็ตาม สามารถลงทุนกับกองทุนนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานประจำ รับงานฟรีแลนซ์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของธุรกิจ กองทุนการออมเงินนี้ ก็ถือเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ดีได้เช่นกัน

เปรียบเทียบกองทุน RMF กับ SSF แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

ก่อนที่จะเริ่ม เปรียบเทียบกองทุน RMF กับ SSF มารู้จักกับ SSF แบบคร่าวๆ กันก่อนว่าคืออะไร

กองทุน SSF (Super Saving Funds) คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวเช่นกัน แต่จะพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วไป ตรงที่รัฐบาลอนุญาตให้ นำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยจะเป็นการลดหย่อนแบบปีต่อปี ซื้อปีไหน ก็ลดหย่อนปีนั้น ในกรอบเวลาปี 2563-2567 [2]

หัวข้อที่น่าสนใจ ในการเปรียบเทียบกองทุน RMF กับ SSF มีดังนี้

  • นโยบายการลงทุน : ทั้ง 2 กองทุนสามารถลงทุนได้กับทุกประเภทสินทรัพย์
  • เหมาะสมกับใครบ้าง : สำหรับ SSF เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนออมเงินระยะยาวจริงๆ แตกต่างจากอีกแบบ ที่จะเน้นให้ความสำคัญกับ กลุ่มคนที่ต้องการมีเงินออม ไว้ใช้ช่วงหลังเกษียณ
  • เงินลงทุนขั้นต่ำและความต่อเนื่อง : ทั้ง 2 กองทุนไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน ซึ่งความต่อเนื่องตัวกองทุน RMF ต้องซื้อทุกปี (เว้นได้แต่ไม่เกิน 1 ปี) ต่างจาก SSF ที่ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีก็ได้
  • สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษี : ทั้ง 2 กองทุนสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ทั้งคู่ สูงสุด 30% แต่ทางด้านกองทุน SSF จะไม่เกิน 200,000 บาท แตกต่างจากการลงทุนสำหรับผู้เกษียณวัย ที่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • วาระสำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : สำหรับการสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี จะเริ่มเท่ากันที่ ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป แต่ตัวของ SSF สิทธิประโยชน์จะสิ้นสุดในปี 2567
ที่มา : RMF คือ อะไร ? ทำไมถึงเป็นกองทุนยืนหนึ่งสำหรับวัยเกษียณ [3]

เปิดเงื่อนไขลงทุน RMF มีข้อแม้ด้านผลประโยชน์ของภาษี อะไรบ้าง ?

MRF

สำหรับผู้ที่สนใจ ลงทุนกับกองทุนออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุงาน ต้องยอมรับทั้ง 3 เงื่อนไขหลัก ของกองทุนให้ได้ แม้ว่ากองทุนตัวนี้ สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ก็จริง แต่หากไม่ทำตาม 2 เงื่อนไขนี้ ก็จะโดนโทษเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้เช่นกัน ดังนั้นหากอยากลงทุนกับ RMF ต้องทำตาม 3 เงื่อนไขต่อไปนี้ให้ได้

เงื่อนไขที่ 1 สำหรับการลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี

กองทุนออมเงินระยะยาว สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนำมานับรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (หรือ กบข.) ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนการออมแห่งชาติ

เงื่อนไขที่ 2 สำหรับผู้ซื้อกองทุน ต้องซื้อกองทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี

เมื่อเริ่มซื้อกองทุนออมเงิน ก็การที่ผู้ซื้อเลือกแล้วว่า จะต้องซื้อกองทุนต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อย 3% หรือ 5,000 บาท โดยสามารถซื้อแบบปีเว้นปีได้เช่นกัน แต่หากจะซื้อกองทุนนี้แล้ว แนะนำให้ซื้อทุกปี เพื่อตัดปัญหาที่จะอาจจะเกิดขึ้นภายหลัง

เงื่อนไขที่ 3 เมื่อเริ่มซื้อกองทุนแล้ว จะต้องถือครองกองทุนขั้นต่ำ 5 ปี

สำหรับผู้ที่ซื้อกองทุนและต้องการขาย กองทุนที่ได้ถือไว้ในครอบครอง ต้องทำตามเงื่อนไขนี้ โดยจะขายได้ก็ต่อเมื่อถือครบอย่างน้อย 5 ปีเต็ม และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากหากเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ ก็จะทำให้ผู้ซื้อมีเงินก้อนออกมาใช้ ตอนใกล้เกษียณพอดี เป็นไปตามจุดประสงค์ของกองทุนนี้

สรุป RMF กองทุนสำหรับเก็บเงินใช้ หลังเกษียณอายุงาน

การจะลงทุนกับ RMF หรือที่เรียกกันว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณ ผู้ที่จะลงทุนต้องสำรวจความพร้อม และยอมรับกับทั้ง 3 เงื่อนไขให้ได้ เพราะเมื่อผิดเงื่อนไขเมื่อไหร่ คงได้มีเรื่องกับสรรพากร เข้ามาให้ปวดหัวแน่ๆ ดังนั้นอยากลงทุนระยะยาว จงเลือกลงทุนกับกองทุนที่ผู้ซื้อ สามารถแบกรับความเสี่ยงนั้นได้เป็นหลัก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง