ธุรกิจ SME แนะความหมาย และประเภทที่ต้องรู้

SME

SME ธุรกิจยอดนิยม ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นส่วนหนึ่ง ที่สามารถช่วย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แถมทางหน่วยงานรัฐ ยังจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อมาดูแลกลุ่มธุรกิจ เอสเอ็มอี โดยเฉพาะกันเลยทีเดียว เราจึงจะมาแนะนำ ข้อมูลต่าง ๆ ของธุรกิจ ประเภทนี้กัน หากทุกท่านพร้อมแล้วไปดูกันเลย

SME หมายถึงอะไร

SME

SME ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใช้พนักงานจำนวนน้อย ผู้ที่ประกอบการธุรกิจแบบ Small and Medium Enterprises คือ ผู้ที่มีความเป็นอิสระ และไม่ขึ้นอยู่กับกิจการหรือธุรกิจอื่นใด

นอกจากนี้ยังใช้ต้นทุนในการเริ่มต้นที่น้อย โดยส่วนใหญ่แล้ว เงินทุนจะมาจากเงิน ของเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นเงินทุนที่มาจากการกู้ยืมมาจากแหล่งการเงินอื่น ๆ หรือธนาคาร

ส่วนจุดเด่นของธุรกิจประเภทนี้ คือ การทำธุรกิจที่สามารถจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริการ รวมถึงการค้า อาทิเช่น ร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็ก การทำการเกษตร เป็นต้น จึงธุรกิจประเภทเป็นหนึ่งใน แรงขับเคลื่อนเล็ก ๆ ของระบบเศรษฐกิจ ในประเทศได้อย่างดี

ประเภทของธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME นั้น สามารถแบ่งออกมาได้ทั้งหมด 3 ขนาด (MSME) คือ วิสาหกิจรายย่อย (Micro) วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) และแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

กิจการที่เกี่ยวกับการค้า กิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับการค้า ที่ครอบคลุมทั้งด้านกิจการค้าส่ง ค้าปลีก การส่งและนำเข้าของสินค้า ซึ่งมีทั้งขนาดย่อย ไปถึงขนาดกลาง โดยมีเกณฑ์การแบ่งที่ชัดเจน ดังนี้

  • วิสาหกิจรายย่อย มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 30-100 คน

กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ เป็นกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริการ ซึ่งจะครอบคลุมทางด้านการท่องเที่ยว อย่าง ร้านอาหาร การศึกษา ประกันภัย สุขภาพ การขนส่ง รวมถึง การโรงแรม เป็นต้น

  • วิสาหกิจรายย่อย มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 30-100 คน

กิจการที่เกี่ยวกับการผลิต เป็นกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิต เป็นการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับ อุตสาหกรรม การเกษตร การทำเหมืองแร่ และอีกมากมาย ซึ่งจะเป็นธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง เป็นต้น

  • วิสาหกิจรายย่อย มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 50 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง มีรายได้ไม่เกิน 100-500 ล้านบาท/ปี จ้างงานไม่เกิน 50-200 คน

เมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ SME จะเป็นอย่างไร

  • การบริหารจัดการ เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้นั้น ใช้เงินทุนที่ไม่สูงมาก สามารถตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ ได้ง่าย รวมถึงขั้นตอนการทำงานไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนแผน ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยขนาดที่เล็กกว่า จึงทำให้การบริหารงาน จัดการง่ายและครอบคลุม
  • การเข้าถึงลูกค้า ข้อได้เปรียบอีกหนึ่งอย่าง ก็คือการที่สามารถใกล้ชิด และเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่าทั่วถึงกว่า มีการสื่อสารที่ได้ประสิทธิภาพ และตรงประเด็น แถมสามารถสร้าง ความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ดีทีเดียว
  • การดึงดูดผู้คนรุ่นใหม่ เนื่องจากความคล่องตัว และมีความยืดหยุ่น มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความสบายใจในการงาน เรื่องของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีความท้าทายมากกว่า ทำให้แนวโน้ม ที่คนรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพจะสนใจ เข้ามาทำงาน กับบริษัทขนาดเล็กเพิ่มขึ้น

ที่มา : ประเภทของธุรกิจ SME, ข้อได้เปรียบของธุรกิจ SME เปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ [1]

สรุป SME

ธุรกิจแบบ SME เป็นธุรกิจที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ยังเป็นหนึ่งใน แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศไทยเรา ให้ไปในทางที่ดีขึ้น และมีแนวโน้ม อย่างมากว่า ธุรกิจแนวนี้ จะได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจ ขนาดเล็กถึงกลาง ก็ยังต้องใช้ความรอบคอบ ความละเอียดในการทำงาน การบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้การทำธุรกิจนั้น เดินต่อไปได้ดีและมีคุณภาพ

Facebook
Twitter