วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ ส่งผลในภาพรวมต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ

วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ 2 สิ่งที่แตกต่างกันคนล่ะด้าน แต่เป็นสิ่งที่สามารถเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมๆกันได้อย่างไร แล้วส่งผลยังไงต่อภาพรวมการพัฒนาประเทศ ในวันนี้ เราจะพาทุกท่านมาร่วมหาคำตอบของ วัฒนธรรม ที่เป็นตัวแปรสำคัญต่อ เศรษฐกิจ พร้อมกับยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนไปพร้อมๆกัน

วัฒนธรรม คืออะไร ?

วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ

วัฒนธรรม คือการกระทำ หรือกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันในชุมชนหนึ่ง พื้นที่หนึ่ง ไปจนถึงหลายพื้นที่ในประเทศ ที่ทำจนเกิดเป็นกิจวัตร มีการสานต่อสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องไปตามยุคสมัย วัฒนธรรม สามารถสื่อผ่าน ดนตรี วรรณกรรม ผลงานศิลปะ ละคร ศาสนา ศีลธรรม สิ่งปลูกสร้าง วัตถุ และประเพณี

ตัวอย่างวัฒนธรรม ในประเทศไทย

  1. ประเพณีสงกรานต์ เป็นวัฒนธรรมที่จัดขึ้นทั่วประเทศไทย ในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี [1] เป็นการฉลองวันปีใหม่ของไทย ในช่วงเวลานี้จะมีกิจกรรม เล่นน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญตักบาตร ประแป้ง รวมถึงมีการนัดพบปะกันในครอบครัว
  2. มวยไทย ถือเป็นวัฒนธรรมศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่โบราณ มวยไทยเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่ถูกให้ความสนใจมากในต่างประเทศ ชาวต่างชาติมักเดินทางมาไทยเพื่อเรียนรู้ศิลปะมวยไทย รวมถึงมวยไทยนั้น ยังมีการจัดแข่งขันเป็นกีฬาสากลที่ถูกทั่วโลกยอมรับ
  3. กางเกงลายช้าง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างวัฒนธรรมในประเทศไทย กางเกงลายช้างถือเป็นเครื่องสวมใส่ ที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ สินค้าตัวนี้มีขายทั่วไปในไทย ผู้คนใส่กันเป็นเรื่องปกติ และได้สร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยเกิดขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ชาวต่างชาติ

ตัวอย่างวัฒนธรรม ในต่างประเทศ

  1. เทศกาลวิ่งวัวกระทิง ในสเปน เป็นเทศกาลที่ปล่อยกระทิงในพื้นที่ที่ถูกจำกัดไว้ โดยผู้ที่เข้าร่วมงาน ต้องวิ่งหนีกระทิงเหล่านั้น กิจกรรมนี้สร้างเพื่อแสดงความกล้าหาญ รวมถึงเพื่อสร้างความสนุกสนาน ความบันเทิงให้แก่ผู้เข้าชม
  2. วัฒนธรรมการดื่มในญี่ปุ่น ในสังคมการทำงาน หัวหน้างานมักจะพาลูกน้องไปดื่มสังสรรค์ ถือเป็นมารยาทที่พนักงานควรตอบรับ และหัวหน้างานต้องเลี้ยงพนักงานที่พาไปทุกคน อาจจะดูคล้ายการไปทานอาหาร กับเครื่องดื่มตามปกติ แต่ปัจจุบันกิจกรรมนี้ได้แพร่หลายในสังคมการทำงาน ถูกรับรู้กัน และกลายเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย
  3. วัฒนธรรมการซื้อบ้านก่อนแต่งงานในจีน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ชายในประเทศจีน ที่ต้องเก็บเงินซื้อบ้าน เพื่อแสดงความมั่นคงก่อน ถึงจะแต่งงาน หากยังไม่ได้ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง มักจะไม่ถูกยอมรับให้แต่งงาน โดยเฉพาะทางพ่อแม่ฝ่ายหญิง

ทั้งหมดที่เราได้กล่าวมาก็เป็นตัวอย่าง วัฒนธรรมทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมมีทั้งที่เป็นความเชื่อ เป็นงานประเพณี งานเทศกาล หรือกระทั่งวัตถุสิ่งของ ก็นับว่าเป็นวัฒนธรรมทั้งหมด

การเชื่อมโยง วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ

วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ

วัฒนธรรมเหล่านั้น นอกจากจะเป็นวิถีชีวิตของผู้คนแล้ว ยังดึงดูดชาวต่างชาติ กลายเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงดูดนักลงทุน [2] ส่งผลไปถึงการจ้างแรงงานที่ตามมา กล่าวได้เลยว่า วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่สามารถเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เอื้อผลประโยชน์ต่อกันและกันได้

จากข้อมูลเมื่อปี 2566 นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยว เทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ช่วงวันที่ 10-16 เมษายน 2566 เป็นจำนวนมากถึง 460,000 คน [3] จำนวนชาวต่างชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า วัฒนธรรมสงกรานต์ในไทย มีความน่าดึงดูดในสายตาชาว