การลงทุนแบบ SSF คืออะไร เปิดเงื่อนไข พร้อมแนะนำกองทุนระยะยาว

SSF

ทำความเข้าใจกับ SSF ทางเลือกสำหรับ การออมเงินระยะยาว ที่แตกต่างจาก RMF โดยสิ้นเชิง ซึ่งการจะซื้อลงทุนรูปแบบนี้ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง จะเป็นการลงทุนระยะยาวแค่ไหน และเหมาะกับใครบ้าง ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุน SSF มาหาคำตอบได้ในบทความนี้

ทำความเข้าใจกับ SSF คือ รูปแบบการลงทุนแบบไหน ?

คำว่า SSF ย่อมาจากคำว่า “Super Savings Fund” เป็นกองทุน เพื่อการออมเงินระยะยาว กล่าวคือ กองทุน SSF เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม ซึ่งกองทุนตัวนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อมาทดแทน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่เรียกกันว่า LTF (Long Term Equity Fund) ตามความต้องการของประชาชน

โดยมีนโยบาย เปิดโอกาสให้ร่วมลงทุนในสินทรัพย์ ได้ทุกประเภท ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิเช่น หุ้น, ตราสารหนี้, กองทุนดัชนี, ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ [1]

ซึ่งก็แยกการจ่ายปันผลออกเป็นอีก 2 รูปแบบ ได้แก่ “จ่ายปันผล” และ “ไม่จ่ายปันผล” โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกการจ่ายปันผล ได้ตามความเหมาะสม

เปิดเงื่อนไขสำหรับการลงทุน SSF มีอะไรบ้าง ?

  • เปิดกว้างการลงทุนในสินทรัพย์ อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
  • ซื้อหน่วยลงทุน SSF เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุด ไม่เกิน 30% ของรายได้ตามจริง ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อน การออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
  • ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ (นับแบบวันต่อวัน)
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  • นำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 – 2567

ที่มา: SSF & RMF คู่หูกองทุนประหยัดภาษี [2]

ระหว่างลงทุน SSF จ่ายปันผล vs ไม่มีปันผล ควรเลือกอย่างไร ?

ถึงกองทุนออมเงินตัวนี้ จะเหมาะกับกลุ่มประชาชน ที่มีรายได้ขั้นปานกลาง ไปถึงผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ต้องการเก็บเงิน ในการลงทุนระยะยาว และยังได้รับสิทธิใช้ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่การลงทุนก็จะมีการปันผล ดังนั้นควรเลือกรูปแบบการปันผลแบบไหน ถึงจะดีที่สุด

คำแนะนำ สำหรับการเลือกรับเงินปันผล หากผู้ลงทุนไม่จำเป็น ที่จะต้องใช้เงินจำนวนนั้น แนะนำให้เลือกการลงทุน แบบไม่มีปันผล เพราะเมื่อลงทุนเก็บเงินแล้ว หากเลือกรูปแบบรับเงินปันผล โดยเงินที่ได้นั้น ก็อาจจะถูกเก็บภาษีเพิ่มนั้นเอง

โดยสามารถธิบายการรับเงินปันผลทั้ง 2 แบบ ได้ดังนี้

1. การลงทุนในรูปแบบที่มีปัน คือ ผลหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% (Final Tax) และไม่นำส่วนที่หักไปยื่นขอลดหย่อนภาษี เหมาะสำหรับผู้ที่มีฐานภาษีมากกว่า 10% เพราะหากนำไปยื่น อาจจะโดนจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น

2. การลงทุนในรูปแบบที่ไม่มีปันผล คือ หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% จากนั้นนำเงินปันผลมารวมเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้จากการขายของออนไลน์, กำไรจากการขาย LTF/RMF, ปันผลจากกองทุน REIT) เพื่อไปยื่นเสียภาษี เหมาะสำหรับผู้ที่มีฐานภาษีน้อยกว่า 10% เพราะสามารถนำไปขอยื่น และมีโอกาสได้คืนภาษี

แนะนำกองทุน SSF สำหรับการหวังผลเติบโต ในระยะยาวให้คุ้ม

SSF

ในการลงทุนระยะยาว ระดับ 10 ปี แน่นอนว่าก็ต้องมองถึง การเติบโตเป็นหลัก โดนสิ่งที่น่าลงทุนคงหนีไม่พ้น การลงทุน SSF ในรูปแบบของหุ้นต่างๆ โดยสำหรับนักลงทุนที่ยังไม่รู้ว่าต้องลงกับหุ้นตัวไหน แล้วมีหวังได้ผลตอบแทนคุ้น วันนี้เราคัดมาให้แล้วกับ 3 หุ้นที่มีโอกาส Growth ในระยะยาว ดังต่อไปนี้

1. กองทุนเปิด K-CHANGE-SSF

กองทุนหุ้นนอกประเทศ ที่บริหารโดย Baillie Gifford Asset Management ผ่านกองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund ที่มีนโยบาย ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลก ซึ่งล้วนเป็นเจ้าของแบรนด์ หรือสิ่งที่ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม หรือสนับสนุน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

ระดับความเสี่ยง : ระดับ 6

จุดเด่น

  • หุ้นทั้งหมดผ่านการบริหารโดย Baillie Gifford หนึ่งในผู้บริหารกองทุนหุ้นระดับท็อปของโลก 
  • มีการคัดเลือกหุ้น ที่มีโอกาสเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี และต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ESG แบบจริงจัง
  • ใช้หลักกลยุทธ์ Buy & Hold เพิ่มความมั่นใจ ในการไม่พลาดโอกาส และลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมในระยะยาว

ลงทุนขั้นต่ำ : การลงทุนทุกครั้งเริ่มขั้นต่ำที่ 500 บาท

ค่าธรรมเนียมหุ้น : ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ได้รับการยกเว้น และค่าใช้จ่ายกองทุนรวม อยู่ที่ 1.3736%

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ : 4,797,091,481.91 บาท

ที่มา: K-CHANGE-SSF [3]

2. กองทุนเพื่อการออม KKP GNP-H-SSF

เป็นรูปแบบการลงทุน ในหุ้นสามัญทั่วโลก ของบริษัทที่มีส่วนร่วม กับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้า และเศรษฐกิจระหว่างประเทศของโลก แห่งอนาคต

ระดับความเสี่ยง : ระดับ 6

จุดเด่น

  • เป็นกองทุน ที่มีความสัมพันธุ์กับหุ้นโลก ACWI ในระยะยาว มีสไตล์การลงทุน ที่สร้าง Alpha ในระยะยาวได้เหนือดัชนีชี้วัดต่อเนื่อง และยังเป็นกองทุนที่มีความผันผวนต่ำกว่า Active Fund หลายกองทุน
  • มีมุมมองการลงทุนในระยะยาว โดยมีมูลค่าเฉลี่ยการซื้อขายต่อกองเพียง 25% ถือครองหุ้นมากกว่า 5 ปี
  • กองทุน KKP GNP-H-SSF ยังเปิดให้มีการเลือกหุ้นแบบ Bottom-up ในแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ได้มี High Conviction มากเกิน ทำให้หุ้นตัวนี้ ถือเป็นตัวหุ้นแรกๆ ที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจ

ลงทุนขั้นต่ำ : การลงทุนทุกครั้งเริ่มขั้นต่ำที่ 100 บาท

ค่าธรรมเนียมหุ้น : ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ได้รับการยกเว้น และค่าใช้จ่ายกองทุนรวม อยู่ที่ 1.7530%

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ : 132,176,254.64 บาท

ที่มา: KKP GNP-H-SSF [4]

3. กองทุนเปิด เพื่อการออมกับ MEGA10-SSF

เป็นกองทุนหุ้น ที่เน้นการลงทุนในหุ้น บริษัทดัง หรือเจ้าของแบรนด์บิ๊กๆ ทั่วโลก โดยกระจายการลงทุนในหุ้น 10 ตัว สัดส่วนเท่ากัน

ระดับความเสี่ยง : ระดับ 6

จุดเด่น

  • ใช้หลักการเลือกหุ้นเข้ามาในพอร์ตแบบ Rule Based Investing Approach ทำให้มีหลักการที่ชัดเจนในการเลือกหุ้นเข้ามาไม่มี Bias ของผู้จัดการกองทุน
  • เลือกลงทุนแค่แบรนด์ชั้นนำระดับโลก เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับ โดยการจัดอันดับแบรนด์เหล่านี้ มีการใช้งบการเงินของบริษัท ทำให้ได้หุ้นที่ดีมีคุณภาพ และมีงบการเงินที่แข็งแรง

ลงทุนขั้นต่ำ : การลงทุนชครั้งเริ่มขั้นต่ำที่ 1,000 บาท และครั้งต่อๆ ไป เริ่มต้นที่ 1 บาท

ค่าธรรมเนียมหุ้น : ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ได้รับการยกเว้น และค่าใช้จ่ายกองทุนรวม อยู่ที่ 1.7120%

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ : 114,741,215.37 บาท

ที่มา: MEGA10-SSF [5]

สรุป SSF รูปแบบการลงทุน 10 ปี

สำหรับการลงทุนรูปแบบ SSF ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ในการลงทุน สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลามาก ในการหาข้อมูลในการลงทุน ลองหันมองโอกาสในการออม การลงทุน ระยะยาว 10 ปี แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ในกองเดียว โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งผู้ที่จะลงทุน ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง